การพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตไม้กวาดดอกหญ้าวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี

Main Article Content

นภัสวรรณ คุ้มครอง
ศรายุทธ ขวัญเมือง
ภิรายุ แสนบุดดา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี พบว่าใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหญ่ของชุมชน ในการดำเนินการผลิตไม้กวาด และผลิตไม่กวาดมานานมากกว่า 30 ปี และปัจจุบันยังใช้วิธีการผลิตแบบเดิม ยังไม่มีการปรับปรุงวิธีการผลิตในรูปแบบใหม่หรือยังไม่เคยทดลองการผลิตในรูปแบบใหม่ เพื่อการพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตพบว่าการออกแบบอุปกรณ์ในการกำหนดระยะที่เหมาะสมของการวางไม้กวาดนั้น สามารถทำให้ผลิตไม้กวาดเพิ่มขึ้นได้


ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบก่อนปรับปรุงและหลังการปรับปรุง ผลการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ระยะเวลา 12 เดือนจำนวนการผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 2,880 ด้ามต่อปี คิดเป็นจำนวนเงิน 171,665 บาทต่อปี ผลหลังการปรับปรุงเพิ่มเป็นจำนวนการผลิต 4,315 ด้ามต่อปี คิดเป็นจำนวนเงิน 280,475 บาทต่อปี และมีผลต่างที่เกิดขึ้นหลังการปรับปรุงทั้งสิ้น 1,442 ด้าม และมีค่าเฉลี่ยคิดเป็น 120.17 ด้ามต่อเดือน ผลต่างคิดเป็นจำนวนเงิน 108,810 บาทต่อปี ค่าเฉลี่ยต่อเดือนคิดเป็น 7,772.92 บาทต่อเดือนสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2549). โลจิสติกส์เพื่อการผลิตและการจัดการ (พิมพครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

ณัฐพล พันธ์เพ็ชร, ศิริรัตน์ อ่อนไธสง, อทิตยา เสยกระโทก และ ศิวพร สุกสี. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำดื่มด้วยการหาขนาดการผลิตที่เหมาะสม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 21-32.

ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์ และวรัญญา อวีระพล. (2562). การลดต้นทุนการดำเนินงานในกระบวนการรับผลิตภัณฑ์เข้าคลังสินค้า กรณีศึกษา โรงงานผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ประเภทขวดแก้ว, ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจาปี พ.ศ.2562 (น.272-281). วิทยาลัยนครราชสีมา.

ศรายุทธ ขวัญเมือง, อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย และนภัสวรรณ คุ้มครอง (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(1) 98- 110.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงศ์ อินทรภักดิ์ (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(1), 84- 95.

อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Kotler, P. (1997). Marketing Management. (9th Ed.). Prentice Hall, Upper Saddle River.