คุณค่าคติธรรมของพิธีการกวนข้าวทิพย์ในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนได้ค้นคว้าเรื่องพิธีการกวนข้าวทิพย์ หรือมธุปายาส หลังจากทำการสืบค้นทำให้ทราบว่า ประเพณีการกวนข้าวทิพย์มีประวัติต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นพิธีการที่มีความศักดิ์สิทธิ์ต้องอาศัยสาวพรหมจารีอย่างน้อย 4 คนเป็นผู้เริ่มกวนจนเสร็จพิธีสงฆ์ นอกจากนี้วัตถุดิบที่ใช้มีมากกว่า 60 ชนิด แบ่งเป็น5 ประเภทคือ ประเภทถั่ว ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช ประเภทน้ำตาล และประเภทผลไม้ ดังนั้นจึงต้องใช้ความสามัคคีของคนจำนวนมากในการจัดหาวัตถุดิบ และเป็นแรงกำลังในการกวนหลังเสร็จพิธีสงฆ์ ยังต้องมีการจัดเตรียมงานทางพิธีสงฆ์ สถานที่ ดังนั้นการกวนข้าวทิพย์จึงก่อให้เกิดคติธรรมและคุณค่ามากมายหลายด้าน และข้าวทิพย์ยังมีคุณประโยชน์ทางด้านสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย สมกับเป็นอาหารมื้อแรกก่อนการตรัสรู้ หลังจากที่พระมหาบุรุษได้ทำทุกรกิริยามายาวนานถึง 6 ปี ด้วยการอดอาหารเป็นเวลานาน ข้าวทิพย์จึงเป็นเสมือนอีก1 ขุมกำลังที่ทำให้มหาบุรุษได้มีกำลังเอาชนะกิเลสทั้งปวง
Article Details
References
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเซษฐสุริยวงศ์. (2513). พระประวัติและพระนิพนธ์บทร้อยกรอง. ธนบุรี: รุ่งวัฒนา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). ประวัติพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9). (2533). ทาง 7 สาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด การพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2554). พิธีกรรมข้าวทิพย์ในเถรวาท. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.
ส. ธรรมภักดี. (2511). ประเพณีไทย ฉบับพระราชมหาราชครู. กรุงเทพฯ: ลูก ส. ธรรมภักดี.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ. (2500). ตำราดูลักษณะแมว กวนข้าวทิพย์-พิธีพิรุณศาสตร์. กรุงเทพฯ:พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส.
อุรดินทร์ วิริยะบูรณะ. (2506). ประเพณีไทยฉบับพระมหาราชครู. กรุงเทพฯ: ประจักษ์.