การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักวิชาการเงินและบัญชี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

ณิชกานต์ อินทร์จันทร์
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของนักวิชาการเงินและบัญชี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักวิชาการเงินและบัญชี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการเงินและบัญชี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 301 รายโดยใช้สูตรของ Taro Yamane มีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของระบบ ด้านการนำมาใช้งานจริง ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านลักษณะการทำงานของโปรแกรม และด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดหาโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัชริกาญจน์ เธียรวรนันท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี กรณีศึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐพัชร์ อภิวัฒนไพศาล. (2560). องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของผู้บริหารทางบัญชี ที่ทางานในบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพสร ทานะขัน. (2563). การรับรูถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปัทมาวดี ดวงดารา. (2558). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของสถานประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์ และสร้อยบุปผา สาตร์มูล. (2563). การศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจต่อการยอมรับ โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชียุคดิจิทัล. (วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภารดี นึกชอบ. (2562). การตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงลำดับชั้น (AHP) กรณีศึกษาสำนักงานบัญชีคุณภาพ. (การค้นคว้าอิสระบัญชีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เมทินี จันทร์กระแจะ. (2558). คุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.