ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีสัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในประเทศไทย จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนมีกระบวนการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับการตัดสินใจได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน ด้านการยอมรับความเสี่ยง ด้านการตัดสินใจ และด้านการพิจารณาทางเลือก ตามลำดับ 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้แก่ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ด้านความคาดหวังในประสิทธิผล และปัจจัยทัศนคติต่อวัคซีน ด้านประสิทธิภาพ ด้านความปลอดภัยมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
ขนิษฐา ชื่นใจ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid- 19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงนภัส เสาวรส. (2561). การจับจ่ายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ลาซาด้าของกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นันท์ชนก จันทร์เสน และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากตลาดออนไลน์ กรณีศึกษา บริษัท Lazada. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 1(2), 79-88.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.
บวรลักษณ์ ขจรฤทธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประชากรในจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 16 ง. หน้า 21-23.
เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น ออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://science. mahidol.ac.th/sdgs/3-010/
อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2554 ). การวิเคราะห์งานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เผยแพร่ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข ระหว่างปี 2540-2552. วารสารพยาบาล สาธารณสุข, 26(2), 21-43.
Kreps, S. et al. (2020). Factors associated with US adults’ likelihood of accepting COVID-19 vaccination. JAMA network open, 3(10), e2025594-e2025594.
Sherman, S. M., et al. (2021). COVID-19 Vaccination intention in the UK: results from the COVID-19 vaccination acceptability study (CoVAccS), a nationally representative cross-sectional survey. Human vaccines & Immunotherapeutics, 17(6), 1612-1621.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.