ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 2) เปรียบเทียบปัจจัยองค์กรกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่จดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 400 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 2) จำนวนพนักงาน และระยะเวลาดำเนินกิจการที่ต่างกันมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยด้านกิจกรรมโลจิสติกส์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกัน ในด้านการบรรจุหีบห่อ ด้านการเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง และด้านการขนส่ง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านกิจกรรมโลจิสติกส์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กฤติยา เกิดผล และปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี.
ขวัญเรือน มาลากุล ณ อยุธยา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 9(1), 54-78.
ฐาปนี เรืองศรีโรจน์, นวินดา ซื่อตรง, ณัฐณิชา นิสัยสุข และพรทิพย์ รอดพ้น. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในประเทศไทย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ทศพร เตธนานันท์. (2561). การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจโดยใช้กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ธุรกิจค้าปลีกเครื่องสำอางค์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
นิธีวดี โฉมยา. (2560). การวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของภาคการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปสมุนไพรในภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิทักษ์พงษ์ ดิษฐาอนันต์. (2559). แนวปฏิบัติการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการตอบสนองในห่วงโซ่อุปทานที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ฤดี นิยมรัตน์. (2553). ปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหาร สำนักงานสรรพากรภาค 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศราวุฒิ บุษหมั่น. (2558). กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์: ศึกษาเฉพาะผู้ประกอบการขนส่งไทย.นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยภาคกลาง.
ศศิธร สุวรรณศรี. (2562). ประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สถาพร โอภาสานนท์. (2563). การปรับตัวทางธุรกิจสู้ภัยโควิด19. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564, จาก https://www.sme.go.th/th/
อาธิตญา ฉวีวงษ์. (2560). ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งและคลังสินค้าใน จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
World Bank. (2012). Access to information: Annual report. Washington DC: World Bank.
Yamane, T. (1973). Statistics, Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row Ltd.