คุณลักษณะของผู้สอบบัญชีและทักษะวิชาชีพบัญชีส่งผลต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้สอบบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ 2) ศึกษาทักษะวิชาชีพบัญชีที่ส่ง ผลต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่อยู่ในในพื้นที่เดียวกัน จำนวน 384 คนใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ เป็นการวิจัยแบบปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหูคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านความโปร่งใส่ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และคือด้านความเป็นอิสระ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านความเที่ยงธรรม อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการเก็บรักษาความลับ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความรู้ความสามารถ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และ 2) ทักษะวิชาชีพของบัญชีมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบบัญชีในพื้นที่เดียวกัน ในทางวิถีความถดถอยเชิงพหุคูณ ผู้สอบบัญชีมีอิทธิพลทางบวกในความถูกต้อง ความชัดเจน ความกะทัดรัด ความคิดสร้างสรรค์ และความทันเวลาของรายงานการตรวจสอบบัญชีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ 0.05
Article Details
References
กิตติคม จีนเหรียญ. (2560). อิทธิพลของความรู้ความสามารถ คุณลักษณะหลักฐานการสอบบัญชี ที่ดี และความสามารถทางการบริหารงานที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จารินยา แก้วสุริยา. (2560). ผลกระทบของคุณภาพในการสอบบัญชีและความต่อเนื่องในการสอบทานงานสอบบัญชีที่มีต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จุฬาลักษณ์ นอนิล. (2557). ผลกระทบของความรับผิดชอบทางการสอบบัญชีที่ดีที่มีต่อความน่าเชื่อถือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสารคาม.
จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฏฐธิดา จินมอญ, วัฒนา ยืนยง และปานฉัตร อาการักษ์. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(2), 101-112.
ธัญญา คหาปนะ. (2566). จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและ รับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเขตภาคใต้ (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พจนี ศรีสุนนท์. (2560). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพสอบบัญชีและคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
รัตติยา วงศรีลา. (2560). ผลกระทบสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มนัสนันท์ กิตติ์เจริญภาคิน. (2564). ความสามารถทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วณิชฌา ผาอำนาจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศุภามณ จันทร์สกุล. (2557). ยุคสมัยของการประเมินผลและแนวคิดทฤษฎีของนักประเมิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(1), 68-78.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2561). สรุปสาระสำคัญของจรรยาบรรณสภาวิชาชีพบัญชี. ค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565, จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66981
สุนิษา ธงจันทร์. (2552). ผลกระทบของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 76-90.