การบริหารจัดการแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่เวทีโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นรายได้สำคัญอันดับต้นของประเทศที่มีต้นทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่นด้วยการท่องเที่ยวมีวัตถุดิบที่สำคัญคือทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม อาหาร ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของถิ่นที่ชวนเชิญนักท่องเที่ยวให้มาเยือน ประเด็นสำคัญคือการบริหารจัดการในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้คุ้มค่า ในการนี้ควรมีจังหวัดที่เป็นโครงการนำร่อง โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการส่งเสริมแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งจะขอนำเสนอจังหวัดภูเก็ตเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากลเป็นโครงการนำร่อง เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวอันดับ 1 ของประเทศ โดยแผนพัฒนาที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยทุกระบบมาใช้ทั้งทางด้านอารยสถาปัตยกรรม ระบบการสื่อสาร ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว การสร้างจิตสำนึก การให้บริการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทุกอาชีพ การจัดการอำนวยความสะดวกเพื่อสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวตามมาตรฐานสากลเป็นต้นแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนี้เป็นภาพรวมที่ทุกจังหวัดสามารถนำไปปรับใช้ตามเอกลักษณ์และความพร้อม หากทุกจังหวัดสามารถดำเนินการได้ การท่องเที่ยวประเทศไทยจะก้าวสู่เวทีโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
Article Details
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2542). การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวปี 2542. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566, จาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T14751.pdf
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566, จาก https://thaits.avalue.co.th/services/uploads/standard/document/files_01042019172956/1554114879554d.pdf
พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522. (2522). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 72.
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2566). ttb analytics คาดรายได้การท่องเที่ยวไทยปี2566 เพิ่มขึ้น1 ล้านล้านบาทจากปีก่อน. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566, จาก https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/travel-thailand-2566
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ.2564-2565). ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://nantourism.go.th/filesAttach/news/1640831929.pdf
องค์กรสหประชาชาติ. (2506). การเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศ. การประชุมองค์กรสหประชาชาติประจำปี 2506. ประเทศอิตาลี.
Bhatia, A. K. (1986). Tourism Development Principles and Practices. New Delhi, India: Ram Printograph.
Chamdermpadejsuk, C., Amponstira, F. & Walsh, J. (2019). Characteristics of the Emergent Slow Tourism Sector in Thailand: Evidence from Samut Prakan, Business Administration and Business Economics. Acta Universitatis Danubius Œconomica, 15(2), 7-24.
Gee, C. Y., Choy, D. J. L., & Makens, J. C. (1984). The Travel Industry. (2nd ed.). New York: Van No Strand Reinhold.
LH Bank. (2566). ภาวะการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566, จาก www.lhbank.co.th/getattachment/f6276370-cdf6-4b2d-8ee2-69183b7d2232/economic-analysis-Industry-Outlook-2023-Tourism-Situation-in-Phuket
McIntosh, R. W. & Goeldner, C. R. (1986). Tourism: Principles, Practices, Philosophies. Wiley.
Mill, R. C. & Morrison, A. M. (1992). The Tourism System: An Introductory Text. Englewood Cliffs, New York: Prentice-Hall International Editions.
Thaipbs. (2565). 10 อันดับ จังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ภูเก็ตแชมป์. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/322587
United Nations World Tourism Organization (UNWTO). (1997). International Tourism: A Global Perspective. Madrid: UNWTO.