การนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สถาพร สมบุญ
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประสานงาน และ ด้านทรัพยากรในการปฏิบัติตามนโยบาย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประสานงาน และ ด้านทรัพยากรในการปฏิบัติตามนโยบาย กับการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประสานงาน และ ด้านทรัพยากรในการปฏิบัติตามนโยบาย ภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) มีความสัมพันธ์กับการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ในระดับค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้การนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติ สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้อย่างมีคุณค่า และยังช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา. (2563). รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า : กรณีศึกษาประเทศจีนและอินเดีย ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/578731

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2565). ความยากจนในทัศนะของนักวิชาการและองค์กรคนจน. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก http:/www.probation.go.th

บัญชา พุฒิวนากุล และ วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์. (2561). กระบวนการนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), 32-56.

ศศิวิมล อ้นนา. (2565). การนำนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนในมิติด้านรายได้ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามปลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การจัดทำนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและการช่วยเหลือคนจนใช้เครื่องมือหลายอย่างประกอบกัน. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=7205&filename=index

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2565). มาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2567,จาก http://www.fpo.go.th

สุวิมล สืบสุนทร. (2561). การนำนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนไปปฏิบัติตามโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Kalasin happiness model) กรณีศึกษา อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dye, T. R. (1981). Understanding public policy. 4th ed. New Jersey: Prentica Hall.

Easton, D. (1953). The political System: An Inquiry in to the state of Political Science. New York: Alfred a. Knoft.

Sharkansky, I. (1971). Policy Analysis in Political Science. Chicago: Markhm.

Van, Horn, Carl E. & Van Meter, Donald. (1976). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society, 6(4), 103.