ปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดินในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

จันธนพัล วงฐ์ธนชัยพล

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (2) การเมืองในองค์การของหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับบริหารจัดการที่ดินบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานในเขตปฏิรูปที่ดินอำเภอวังน้ำเขียว (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ในเขตปฏิรูปที่ดินอำเภอวังน้ำเขียว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 15 คน
          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการถือครองที่ดินในอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มาจากกฎหมายที่ซับซ้อนและหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจในการบริหารจัดการที่ดินมากมายซ้อนกัน และยังไม่มีการนำนโยบายการปฏิรูปที่ดินมาใช้อย่างเหมาะสม ทั้งยังไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคทช. และคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรยังคงอยู่ 2. ปัญหาการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ของราษฎรอำเภอวังน้ำเขียวยังคงอยู่ โดยมีการการยึดครองเนื่องมาจากการมีกำหนดการบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ซับซ้อนและหลากหลาย 3. ข้อเสนอแนะคือ 1) จัดระเบียบการบริหารราชการแบบบูรณาการโดยกำหนดเป้าหมายร่วมให้ชัดเจน และให้แต่ละหน่วยงานกำหนดเป้าหมายรองตามภารกิจเฉพาะของตน 2) ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐตามมาตราส่วน 1:4000 และปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) ปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นการกระจายอำนาจให้หน่วยงานภูมิภาคและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและตรวจสอบผลลัพธ์ในทุกๆ ระดับหน่วยงานภาครัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ เชาว์ตฤษณาวงษ์. (2557). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อทำการเกษตรสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนภายใต้ความพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 100-110.

คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก. (2565). ถึงเวลาปรับความเท่าเทียมระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.pmtw.moc.go.th/post/ถึงเวลาปรับความเท่าเทียมระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา

เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป. (2556). รายงาน: ภาพรวมปัญหาที่ดินและแนวทางแก้ไข. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://v-reform.org/v-report/

ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2562). การพัฒนาเมืองโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิให้น่าอยู่. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 135-141.

พรพิมล ขำเพชร. (2559). ปัจจัยกำหนดการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่ปลูกข้าว. วารสารบริการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 11(1), 113-121.

พิสิษฏ นาสี และชัยพงษ์ สำเนียง. (2556). การเลือกตั้ง: การสร้างเครือข่ายและสายใยความสัมพันธ์ในการเมืองระดับท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 10(3), 77-109.

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี. (2562). เศรษฐศาสตร์การเมือง ความเหลื่อมล้ำ และไม่เป็นธรรมทางสังคม. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563, จาก thaiciviceducation.org.html

สถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ และคณะ. (2550). รายงานวิจัย การคุ้มครองและการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ-ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักข่าวอิศรา. (2560). ปัญหาถือครองที่ดิน ความเหลื่อมล้ำสุดขั้ว ภาพสังคมไทยรวยกระจุกจนกระจาย. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.landactionthai .org/2012-05-18-03-24-45/article/item/1832

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา. (2564). ข้อมูลเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัด-นครราชสีมา. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2567, จาก https://alro.go.th/th /nakhonratchasima

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, (2564) ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบ จาก

การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ 2562 ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2567 จาก

https://www.ombudsman.go.th/new/

สุกันตา ศรีกำพล. (2563). กลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดินในอำเภอประคำ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์.

อาภาพรรณ พัฒนพันธ์. (2560). การปฏิรูปที่ดินในอาเซียน ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, สํานักวิชาการ-และแผนงาน.

Drory, A. (1993). Perceived political climate and job attitudes. Organization Studies, 14(1), 59-

Mathur, K., (1980). Policies and implementation of land reforms in Asia: Basic Issues. In Inayatullah (Eds.), Land reform Some Asian Experienced. (pp. 1-14). Kuala Lumpur: Asian and Pacific Development Administration Centre.

Zarin, H. A., & Bujang, A. A. (1994). Theory on land reform: An overview. Bulletin Ukur, 5(1), 9-14.