อิทธิพลของ Influencer บนสื่อโซเชียลมีเดีย Facebook Instagram และ Tiktok ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหาร ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เกสรี สมประสงค์

บทคัดย่อ

     


วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อลักษณะเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดียของ Influencer 2) ความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อ Influencer 3) การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 4) อิทธิพลของ Influencer บนสื่อโซเชียลมีเดีย Facebook Instagram และ Tiktok ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อลักษณะเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดียของ Influencer มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านคุณภาพของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความน่าสนใจของเนื้อหา และด้านประโยชน์ของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อ Influencer โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านความน่าเชื่อถือของ Influencer มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเชี่ยวชาญของ Influencer และด้านความมีชื่อเสียงของ Influencer มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3) การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ลักษณะเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดียของ Influencer และ Influencer มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารควรให้ความสำคัญกับการทำเนื้อหาในสื่อโซเชียลมีเดีย (Content) ให้มีความน่าสนใจ โดยตัวอินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบก็สามารถได้รับความนิยมได้ ถ้าสามารถทำเนื้อหาของ content ให้มีรูปแบบของภาพหรือคลิปวีดีโอให้มีความน่าสนใจ ก็จะได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลทำให้การประกอบการธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลิ่นสุคนธ์ บรรทัดจันทร์. (2561). การศึกษาอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารของคนในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). กระแสธุรกิจร้านอาหารในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคและกระแสธุรกิจเปลี่ยนแปลง. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2567. จาก http://dbd.go.th/

ชัชญา สกุณา (2561). ปัจจัยพยากรณ์ความน่าเชื่อถือและความดึงดูดใจของแหล่งสารต่อพฤติกรรมการบริโภคผ่านการสื่อสารการตลาดแบบ Unbranded Facebook Fanpage. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 11(2), 95-110.

ฐานิสร ไกรกังวาร และ ธรรมวิมล สุขเสริม. (2562). การตัดสินใจซื้อครีมกันแดดทาผิวกายของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(3), 202-212

ณิชมน ศิริยงวัฒนา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านช่องทางออนไลน์. ในประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณิชาภัทรา จันทร์ดารา ธำรง เมฆโหรา และ ปัญญา หมั่นเก็บ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่มีเครื่องหมาย“อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” ในเขตกรุงเทพมหานคร. King Mongkut's Agricultural Journal, 34(1), 48-58.

ดวงใจ แซ่ฉั่ว. (2563). กระบวนการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์ทางการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 7(2), 1-23.

นฤมล ตีระพัฒนเกียรติ และ ฉัตรชนก กระจับนาค. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้งาน Facebookกับการตัดสินใจซื้อสินค้าจากการเปิดรับสื่อโฆษณาบน Facebook ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองปทุมธานี จังวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(2), 80-92.

ธนากร พงษ์ภู่, โอภาสกิจ กำแหง และกฤษฎา เครือชาลี. (2566). การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างส่วน ประสมทางการตลาดบริการกับทัศนคติที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์เอกชนในกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(7), 168-180.

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 14(1), 48-85.

พนิดา มนตรี และ วรพจน์ ปานรอด. (2564). ความตั้งใจรับชมถ่ายทอดสดกีฬาชนวัวออนไลน์แบบไลฟ์สตรีมมิ่ง. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 9(2), 63-72.

พิชญาณี ธรรมวิชิต. (2563). แผนธุรกิจบริการแพลตฟอร์มกลยุทธ์การตลาดที่อาศัยผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ “INFLUENCER HUB” (สารนิพนธ์ปริญญาการจดัการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

แพร ไกรฤกษ์. (2558). อิทธิพลของบิวตี้บล็อกเกอร์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมความงามของสตรีไทยในยุคสื่อสังคมออนไลน์ (วิทยานิพนธิ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วสุธิดา นุริตมนต์ บดินทร์ พญาพรหม และ ปฐม สวัสดิ์เมือง. (2563). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดโดยผู้มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภควัยทำงาน.RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences, 7(1), 82-98.

สมเกียรติ ศรีเพ็ชรและศิริชัย ศิริกายะ. (2562). พฤติกรรมการแชร์เนื้อหาบนเฟซบุ๊ก (Facebook) ของเยาวชนในเขตธนบุรี. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 163-175.

อนพัทย์ พัฒนวงศ์วรัณ. (2566). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพในยุคการ พลิกผันทางดิจิทัล. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 5(1), 60-75.

Ahmad, S. & Bruno, D. E. (2021). Social Media Influencers and The Dietary Choices Among University Students. Malaysian Journal of Social Sciences and Humanities (MJSSH), 6(10), 543 - 557. doi: 10.47405/mjssh.v6i10.1125.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice – Hall.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and. Measurement. P.90-95. New York : Wiley & Son.

Nutrilite. (2019). สารอาหารพื้นฐาน เพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน. เมื่อ 29 มกราคม 2567 จาก https://nutrilite.co.th/th/article/daily-health-nutrition

Nnestle. (2017). อร่อยและดีต่อสุขภาพเคล็ดลับ 5 ประการในการสร้างโภชนาการที่ดีให้แก่ครอบครัว ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2567 จาก https://www.nestle.co.th/th/stories/tasty-healthy-nutrition-family

Pea Tanachote. (2021). TikTok ครองแชมป์แอปที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุด 4 เดือนซ้อน หลังพิสูจน์แล้วว่าช่วยธุรกิจเติบโตได้. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2567 จาก https:// thegrowthmaster.com/trends/tiktok-hold-position-top-of-the-monthly-app-download

TikTok: For Business. (2020). เพิ่มรายได้ของคุณด้วยโซลูชั่นวันหยุด (Holiday Solutions) ของ 63 TikTok. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2567 จาก https://www.business-tiktok.com/thholidayseason/