แนวทางการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ธัชณภัค ธนินบวรกิจ
ทวี แจ่มจำรัส
ธิปัตย์ โสถิวรรณ์
พัทธ์สิริ สุวรรณาภิรมย์
สุชิน ปัญญะสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว นโยบายภาครัฐ กลยุทธ์การตลาด และการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว นโยบายภาครัฐ กลยุทธ์การตลาด และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี และ 3) แนวทางการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายหาดในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การเลือกตัวอย่างตามหลักเกณฑ์ของแม็กซ์เวล (ณรงค์ กุลนิเทศ และสุดาวรรณ สมใจ, 2558) โดยผู้วิจัยเลือกสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่จากสำนักการท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี 1 คน  2) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเขตปกครองพิเศษพัทยา 6 คน  3) เจ้าหน้าที่อำเภอที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 คน  4) ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์ในพื้นที่ 5 ปีขึ้นไป 2 คน  5) ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชายหาดชลบุรี 3 คน 6) นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชายหาดในจังหวัดชลบุรี 3-5 ครั้งขึ้นไป 3 คน  รวมทั้งหมด 18 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชายเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี  การมีส่วนร่วมของประชาชน และกลยุทธ์การตลาดมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน นโยบายของภาครัฐ และภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านนโยบายของภาครัฐ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาชายเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี มากที่สุด รองลงมาได้แก่ นโยบายของภาครัฐภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว และ การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามลำดับ และ3) ได้แนวทางการพัฒนาชายเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยนโยบายของภาครัฐ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดเป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด ส่วนกลยุทธ์การตลาดและ ภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว อยู่ตรงกลาง  และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย  นอกจากนั้นการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี ต้องประกอบด้วย ความสะอาด ความพร้อมของสาธารณูปโภค ความลื่นไหลของจราจร และความปลอดภัย ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวนำข้อมูลที่ได้จากแนวทางการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ไปเป็นตัวแบบและแนวทางในการการพัฒนาชายหาดเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีให้ดียิ่งขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ พานิชพัฒธนกุล และคณะ. (2562). ผู้นำกับทุนทางสังคมในการพัฒนาชายหาดบางแสน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 13.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2567, จาก https://www.tat.or.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2564). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567, จาก https://thai.tourismthailand.org/Articles/9tat

จังหวัดชลบุรี. (2566). ทะเลงาม ข้ามหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567, จาก http://www.chonburi.go.th/website/about_chonburi/about2

ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน และ มารุต สุขสมจิตร. (2564). การท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่งวิถีใหม่ ภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 40(3), 161-190.

รุ่งรดิศ เมืองลือ. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างยั่งยืนในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(ฉบับพิเศษ), 32.

รักพงษ์ ขอลือ และคณะ. (2564). รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจังหวัดระนอง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 56.

วาสนา สุวรรณวิจิตร. (2564). รูปแบบการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(2), 63.

วิชาญ สำราญรัมย์. (2561). ศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวของหาดจอมทอง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/137.ru

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2562). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arsic, S., Nikolic, D. and Zivkovic, Z. (2017). Hybrid SWOT-ANP-FANP model for prioritization strategies of sustainable development of ecotourism in National Park Djerdap, Serbia. Forest Policy and Economics, 80, 11-26.

Benjamin, S., Dillette, A. and Alderman, D.H. (2020). We can’t return to normal: committing to tourism equity in the post-pandemic age. Tourism Geographies, 22(3), 476-483.

Casado-Aranda, L.A., Sánchez-Fernández, J. and Bastidas-Manzano, A.B. (2021). Tourism research after the COVID-19 outbreak.Insights for more sustainable, local and smart cities. Sustainable Cities and Society, 73, 103126.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Effective behavior in organizations. New York: Richard D. Irwin Inc.

Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior. Belmont,CA:Thomson/Wadsworth.

Duffy, R. (2018). Neoliberalising nature: Global networks and ecotourism development in Madagasgar. Journal of Sustainable Tourism, 16(3), 327-344.

Daft, R. L. (2019). Leadership: Theory and Practice. Fort Worth, TX: Dryen Press.

Dima, C., Burlacu, S. and Buzoianu, O.A.C. (2020). Strategic Options for the Development of Ecotourism in the Danube Delta in the Context of Globalization. In SHS Web of Conferences, 74, 4005.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Lovell, R.B. (1980). Adult Learning. New York: John Wiley & Sons, Inc.