ศักยภาพของเกษตรกร กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และนวัตกรรมการจัดการที่มีต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกในประเทศไทย

Main Article Content

อัควัฒน์ เมธาจรัสสินทวี
ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
บัณฑิต ผังนิรันดร์
ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์
ชมภู สายเสมา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับตัวแปรศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาด ความสามารถในการแข่งขัน และความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย  2. อิทธิพลของตัวแปรศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาดความสามารถในการแข่งขัน  ที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย  และ3. สร้างแบบจำลองความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย  ใช้การวิจัยแบบผสานผสาน ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย จำนวน 320 ตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนด โดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบแบบเจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกทุเรียนในประเทศไทยรวมทั้งสิ้นจำนวน20คน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาด ความสามารถในการแข่งขัน และความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย อยู่ในระดับมาก 2) ศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน การมุ่งเน้นตลาด ความสามารถในการแข่งขันที่มีต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แบบจำลองความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศไทย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่า PMCS Model (P = Potential, M = Market Oriented , C = Competitiveness , S = Success of durian farmers exporting ) นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงคุณภาพยังพบว่า ในการสร้างความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียน นั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการขายและการขนส่งโลจิสติกส์ภายใต้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และการใช้เทคโนลียีที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรในการควบคุมขั้นตอนการปลูกและรักษาคุณภาพทุเรียนให้ตรงตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ผลของงานวิจัยนี้สามารถนำไป  ปรับใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายในการดำเนินธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออกทุเรียนในประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศุลกากร. (2565). ปริมาณการส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ. ค้นเมื่อ 29มุนายน 2567.จาก http://www.customs.go.th/statistic_report.php?show_search=1&s=oLuGdLhgyscAYMay

Ahmed, F. U. & Brennan, L. (2019). An institution-based view of firms’ early internationalization: Effectiveness of national export promotion policies. International Marketing Review, 36(6), 911-954

Aiolfi, S., Bellini, S., & Pellegrini, D. (2021). Data-driven digital advertising: benefits and risks of online behavioral advertising. International Journal of Retail and Distribution Management, 49(7), 1089-1110. doi: 10.1108/IJRDM-10-2020-0410

Abrokwah-Larbi , K. (2020) “ผลกระทบของการตลาดที่เป็นนวัตกรรมต่อประสิทธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแปรรูปอาหารกานา (SMEs)”,Ph.D. วิทยานิพนธ์ส่งไปยังมหาวิทยาลัยแอฟริกาใต้ (UNISA)

Cavazza, A., Dal Mas, F., Paoloni, P., & Manzo, M. (2023). Agricultural and Food Sciences, Business. British Food Journal, 125(1), 123-135.

Capelleras, J., Domi, S., & Belletti, G. (2021). Skill-enhancing human resource practices and firm performance: the mediating role of innovativeness. Tourism Review, 76(6), 1279– 1296. DOI: 10.1108/tr-10-2019-0429

Digilina, O.B., Lebedeva, D.V. and Konstantinov, I.A. (2023), "National Competitiveness: Theoretical Development of Core Concepts and Implications for Policy," Journal of Economic Studies,

Gautam, P., Maheshwari, S., Kaushal-Deep, S. M., Bhat, A. R., & Jaggi, C. K. (2020). COVID-19: A bibliometric analysis and insights. International Journal of Mathematical, Engineering and Management Sciences, 5(6), 1156-1169.

Karing'u, K. N., Isaboke, H. N. & Ndirangu, S. N. (2020), Transaction costs and participation in avocado export marketing in Murang’a County, Kenya. Journal of Agribusiness in Developing and Emerging Economies, 11(3), 221-240.

Luo, P. , Ngai, EWT และ Cheng, TCE (2024). โครงสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานและประสิทธิภาพทางการเงินของบริษัท: บทบาทที่บรรเทาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. วารสารการจัดการการดำเนินงานและการผลิตระหว่างประเทศ 44 (1), 75-98. https://doi.org/10.1108/IJOPM-07-

-0434

Raju, S. (2023). Impact of imports from China on Indian manufacturing performance: an analysis of trade competitiveness. International Journal of Emerging Markets.

Sureeyatanapas, P., Pancharoen, D. and Saengprachatanarug, K. (2023), "Finding the sweet spot in Industry 4.0 transformation: an exploration of the drivers, challenges and readiness of the Thai sugar industry", Benchmarking: An International Journal, Vol. ahead-of-print No. ahead-of-print.

sharma, H., และ Aggarwal, A.G. ( 2019 ). การค้นหาตัวกำหนดของอีคอมเมิร์ซความสำเร็จ: ก แนวทาง PLS-SEM วารสาร ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ การวิจัย, 16 (4), 453–471. https://doi.org/10.1108/JAMR-08-2018-0074

Sumi, RS และ Ahmed, M. (2022) การสำรวจพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภครุ่นเยาว์ในช่วงการระบาดของ COVID-19: มุมมองของบังคลาเทศ IIM Ranchi Journal of Management Studies (ตีพิมพ์ล่วงหน้า) 1(2), 108-123

Wang C., Horby PW, Hayden FG, Gao GF การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากความกังวลด้านสุขภาพทั่วโลกมีดหมอ 2020; 395 (10223):470–473.

Wheelen,T.L.and Hunger,J.D.(2012).Strategic management and business policy:toward global sustainability.(13thed). Boston: Pearson.

William, A. J., Suresh, M. & Subramanian, N. (2023). Examining the causal relationships among factors influencing SMEs' competitive advantage: a TISM-neutrosophic MICMAC approach", Benchmarking. An International Journal.

Yin, M. & Li, J. (2023). How market orientation affects open innovation? Exploring the role of information and communication technology capability. European Journal of Innovation Management.

Zhang, F., Zhang, Q. & Wu, H. (2023), Robot adoption and export performance: evidence from Chinese industrial firms. Journal of Manufacturing Technology Management, 34(6), 896-916.