การลดคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรมกับองค์กรพุทธตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

ณพลเดช มณีลังกา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การลดปริมาณผู้กระทำผิดในครั้งแรกและกระทำผิดซ้ำ และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ด้วยแนวคิดองค์กรพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรมเพื่อลดคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรม 2) ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำของกระบวนการยุติธรรมสู่การปรับใช้แนวคิดองค์กรพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรมมาช่วยลดปัญหาอาชญากรรมและลดจำนวนผู้ต้องขัง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม 10 ราย พนักงานอัยการ 10 ราย ทนายความ 10 ราย ตำรวจ 10 ราย เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ 10 ราย ผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนา 10 ราย เจ้าอาวาส 10 ราย  โรงเรียน ได้แก่ ผอ.โรงเรียนและครู 20 ราย วัยรุ่น 10 ราย และผู้ใหญ่ 10 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างความเข้าใจและเห็นธรรมชาติของความผิดที่เกิดขึ้น การสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะชีวิต ช่วยลดความเสี่ยงที่จะกลับมากระทำผิดอีกครั้งในอนาคต 2) ส่วนใหญ่มักจะมีความเห็นเชิงบวกต่อการปรับใช้แนวคิดพระพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรมเพื่อลดปัญหาอาชญากรรมและลดจำนวนผู้ต้องขังเพราะเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่มากมายในการใช้หลักพุทธธรรมในชีวิตประจำวันและการแก้ไขปัญหาทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและชุมชนในระยะยาว ดังนั้น การใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหาทางสังคมยังสามารถสร้างความเข้าใจและความเอื้อเฟื้อในชุมชน และช่วยสร้างสังคมที่มีสันติภาพและความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในระยะยาวทำให้มีโอกาสลดปัญหาอาชญากรรมและลดจำนวนผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพในชุมชนและสังคมโดยรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการสุพิศ ทรงจิตร, สุทัศน์ ประทุมแก้ว, และพระกัญจน์ แสงรุ่ง. (2562). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบำบัดและลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเยาวชนติดยาเสพติด : กรณีศึกษา วัดโนนสูงวนาราม ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 4(2), 47.

พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร. (2563). พุทธวิธีแก้ปัญหาอาชญากรรม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(1), 113.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2562). อดีต ปัจจุบัน และอนาคต งานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ ของคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: นิติธรรม.

รัชยา รัศมีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาลการบริหารงานขั้นต่ำและเดือนกรกฎาคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชช์ จีระแพทย์. (2553). สังคมต้องให้คนดีมีโอกาสทำงาน. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 3(2), 35.

สำนักข่าวสร้างสุข. (2565). ยกระดับพระสงฆ์ สู่นักสาธารณสงเคราะห์ต้นแบบฯ. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=312411

สมชัย นันทาภิรัตน์. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ. วารสาร มจร.บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 114

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน. (2566). โครงการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยพลังของประชาชน. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567, จาก https://www.fidh.org/en/

Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Gulick, L., & Urwick, L. (Eds.). (1937). Papers on the science of administration. New York: Institute of Public Administration, Columbia University.

Schermerhomn. (1999). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management: HRM) หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรยุคปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2567, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-whatishrm-190117/

Sheldrake, J. (1996). Management theory: From Taylorism to Japanization. London: International Thomson Business Press.

United Nations Development Programme: UNDP. (1997). Governance for Sustainable Human Development. New York: UNDP.

World Prison Brief. (2023). ข้อมูลโดยสรุปเรือนจำโลก. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก https://www.prisonstudies.org/