ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน

Main Article Content

ภณิตา จามิตร
ปวีณา แซ่จู
ไกรวิทย์ หลีกภัย

บทคัดย่อ

            การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน 56-1 และงบการเงินประจำปีจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2557 – 2566 เป็นเวลา 10 ปี โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 33 บริษัท เป็นจำนวน 330 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ
         ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับผลการดำเนินงานด้านการเงิน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) และ Tobin’s Q มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับรางวัลที่ได้รับจากผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม  ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET). (2566). คู่มือกรรมการอิสระ. ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2566, จาก https://www.set.or.th/th/home

รมมณีย์ เพิ่มพูนทวีทรัพย์. (2558, 15-16 พฤษภาคม). ลักษณะธุรกิจที่มีผลต่อการรายงานการบริหารความเสี่ยงและผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางการบัญชีระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจําปี 2558, เครือข่ายวิจัยทางการบัญชี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพ์ฤทัย ขัตติข่าย. (2563). ความสัมพันธ์ของระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับ. ผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่อยู่ในดัชนี SET100. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สถาบันไทยพัฒน์มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์. (2566). เรื่อง Thaipat Institute ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://www.thaicsr.com/2019/06/esg100-62_12.html?m=0

สถาบันไทยพัฒน์. (2566). ซีเอสอาร์ กับ ข้อตกลงโลก 10 ประการ. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566, จาก http://thaicsr.blogspot.com/2006/05/10.html

สิปปภาส พรสุขสว่าง (2553). การวัดผลการดำเนินงานทางการเงินและความเสี่ยงจากการล้มละลายของธนาคารพาณิชย์ไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(125) 32-45

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2566) ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566, จาก https://www.setsustainability.com/page/sustainability-management-process

อนันตชัย ยูรประถม (2550) CSR จากแนวคิดสู่วิธีปฏิบัติ. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566 จาก http://www.tpconsult.co.th/news/CSR.pdf

Chung, K.H., & Pruitt, S.W. (1994). A Simple Approximation of Tobin's q. Venture Capital Special Issue, 23(3), 70-74. doi:https://doi.org/10.2307/3665623

Freeman, R.E. (1984). Strategic Management: Stakeholders Approach. Boston: Pitman.

Lemon, K., Roberts, J., Raghubir, P., & Winer, R. (2011) Measuring the effects of corporate Social Responsibilities: A Stakeholder-Based Approach. Director Notes, 3(7)

Liargovas, P.,& Skandalis, K.S. (2008). MOTIVES AND MARKETING STRATEGIES OF GREEK COMPANIES EXPORTING TO SOUTH-EAST EUROPEAN MARKETS. Journal of Economics, 2, 227-244.

Wongtanasarasin , W. ., & Chancharat, N. (2021). The Role of Capital Structure on Financail Performance: An Empirical Study of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 1–15. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/246854 289-307.

Klapper, Leora F and Inessa Love. 2002. Corporate Governance, Investor Protection, and performance in emerging markets. World Bank Working Paper No 2818.