ความสัมพันธ์ของการกำกับดูแลกิจการที่มีผลต่อการตกแต่งบัญชีและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร

Main Article Content

จันทิมา ขำคม
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการกำกับดูแลกิจการที่มีผลต่อการตกแต่งบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตกแต่งบัญชีที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีของแต่ละบริษัทจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร จำนวน 60 บริษัท โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) การกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ ระดับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์ทางลบต่อการตกแต่งบัญชีด้านการรับรู้รายได้เร็วเกินไป ประธานกรรมการกับกรรมการผู้จัดการในคนเดียวกันมีความสัมพันธ์ทางลบต่อการตกแต่งบัญชีด้านการขยับค่าใช้จ่ายในอนาคตมาเป็นค่าใช้จ่ายของงวดปัจจุบัน สัดส่วนกรรมการอิสระและจำนวนครั้งในการประชุมคณะกรรมการบริษัทมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการตกแต่งบัญชีด้านการเพิ่มกำไรด้วยรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว สัดส่วนกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตกแต่งบัญชี และ 2) การตกแต่งบัญชี ได้แก่ การรับรู้รายได้เร็วเกินไปมีความสัมพันธ์ทางลบต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตรากำไรสุทธิ การขยับค่าใช้จ่ายในอนาคตมาเป็นค่าใช้จ่ายของงวดปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตรากำไรสุทธิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ การเพิ่มกำไรด้วยรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการทำกำไร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก สกุลเจริญ และ ฐิตาภรณ์สินจรูญศักดิ์. (2563). ผลกระทบของการตกแต่งบัญชีและการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อคุณภาพกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มอุตสาหกรรมบริการและเทคโนโลยี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(1), 42-56.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณปภัช จารุแพทย์ และ พรพิพัฒน์ จูฑา. (2563). สัญญาณเตือนภัยการตกแต่งบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(2), 42-55.

ดารณี เอื้อชนะจิต และจตุพร เมืองสุวรรณ์. (2565). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรและการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(3), 221-230.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ. (2564). AISA: การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

มาลี พรหมชะอ้อน และคณะ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการตกแต่งกําไร. ว.มทรส. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 7(1) : 83-95

ยุทธ วรฉัตรธาร. (2560). มุมบวกและลบของการตกแต่งบัญชี. Money & Wealth 14(168), 98 – 99.

สุวารี เลิศลักษณะโสภณ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การตกแต่งกำไรเพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานผลขาดทุนและการรายงานผลการดำเนินงานที่ลดลงของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 8(8) 1-16.

สุภรัตน์ ตันฑ์พรชัย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการตกแต่งกำไรกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Abdullah, M., and Ismail, M. (2015). Factors explaining the use of management accounting practices in Malaysian medium-sized firms. Journal of Small Business and Enterprise Development, 22(4), 762-781.

Degeorge, F., Patel, J., Zeckhauser, R., (1999). Earnings management to exceed thresholds. Journal of Business 72 (1), 1–33.

Vo, D. H., and Nguyen, T. M. (2014). The impact of corporate governance on firm performance: Empirical study in Vietnam. International Journal of Economics and Finance, 6(6), 1-13.