ทักษะทางวิชาชีพและประสบการณ์ทำงานที่มีผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภาวิณี ศรีเสวตร์
จิรพงษ์ จันทร์งาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ประสบการณ์ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 470 บริษัท โดยการสุ่มตัวอย่างได้จำนวน 216 คน ใช้สถิติในการหาค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าความแปรปรวน และวิเคราะห์การถดถอยพหุ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการวิเคราะห์แปรผล
            ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการสอบบัญชีระหว่าง 6-15 ปี  ทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชี พบว่า ทักษะทางปัญญา ได้รับการประเมินในระดับมากที่สุด ทักษะทางการปฏิบัติงานในวิชาชีพ และทักษะในการยึดถือจรรยาบรรณวิชาชีพอยู่ในระดับมาก 2) ประสบการณ์ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ด้านความหลากหลายของธุรกิจที่ตรวจสอบ ได้รับการประเมินในระดับมากที่สุด ด้านจำนวนธุรกิจที่ทำการตรวจสอบ และระยะเวลาในการตรวจสอบบัญชีอยู่ในระดับปานกลาง ประสบการณ์ในด้านดังกล่าวส่งผลต่อคุณภาพของงานสอบบัญชี โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร สรุป ทั้งทักษะทางวิชาชีพและประสบการณ์ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีความสำคัญต่อคุณภาพงานสอบบัญชี โดยเฉพาะในด้านทักษะทางปัญญาและความหลากหลายของธุรกิจที่ตรวจสอบ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีในกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิรติพงศ์ แนวมาลี และคณะ. (2564). แนวทางการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน (รายงานวิจัยTDRI). ฉบับที่ 178, 1-13. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2021/07/regulatory-framework-governing-auditors-and-audit-firms-in-the-capital-market/

กรมสรรพากร. (2563). การทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2567, จาก https://www.rd.go.th/31728.html

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพลส.

ชัชฌานันต์ บุณาพันธ์ และ เบญจพร โมกขะเวส. (2565). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี

รับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1376-1391.

ณัฏฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ณัฏฐณิชา คล้ายแก้ว. (2562). ผลกระทบสมรรถนะของผู้สอบบัญชีและการบริหารความเสี่ยงส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นริศรา ธรรมรักษา. (2563). ผลกระทบของทักษะในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(51), 1-15.

นวพร ขู้เปี้ยเต้ง และจันทร์ลอย เลขทิพย์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ช่วยผู้สอบบัญชี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 285-293.

ประดินันท์ ประดับศิลป์. (2558) จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครต่อการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์:กรุงเทพฯ.

รัชชานนท์ พรหมจาด. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบบัญชีในสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบัญชีและการบริหารการเงิน, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ ยอดบัว และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชี (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรางคนา ชูเชิดรัตนา. (2557). แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรับรู้ความยุติธรรม และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธานี ราชแป้น. (2563). การวางแผนดำเนินชีวิตวัยเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สภาวิชาชีพในพระบรมราชูปถัมภ์. (2567). หลักสูตรอบรมสัมมนา. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2567, จาก https://accounttraining.tfac.or.th/

สมพงษ์ พรอุปถัมภ์. (2551). การสอบบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พัฒนาการบริหารธรรมนิติ.

สภาวิชาชีพ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2567). มาตรฐานการบริหารคุณภาพ/มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2567, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/4/มาตรฐานการบริหารคุณภาพมาตรฐานการควบคุม

คุณภาพ

สภาวิชาชีพในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ปรับปรุง. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2567, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/1/มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

สุรีย์พร เพขุนทด. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาด ของไวรัสโคโรน่า (COVID -19) (วิทยานิพน์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิชา เปียทอง. (2562). การตัดสินใจในการทดสอบความรู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Arens, A. A., Elder, R. J., Beasley, M. S., and Hogan, C. E. (2017). Auditing and assurance services: An integrated approach (16th ed.). Pearson Education Limited.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Delhi: Prentice Hall of India Pvt. Ltd.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.