สมรรถนะและความเชี่ยวชาญในการสอบบัญชีส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้สอบบัญชีส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อศึกษาความเชี่ยวชาญในการสอบบัญชีส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการศึกษาเชิงสำรวจ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,419 คน โดยคัดเลือกตัวอย่างจากการคำนวณตามสูตรของ Yamane (1973) รวมทั้งสิ้น 312 คน เป็นการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุในการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะผู้สอบบัญชีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆปัจจัย ทั้งในเรื่องของความรู้ความสามารถ ทักษะการปฏิบัติงานตรวจสอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดขีดความสามารถ และคุณลักษณะส่วนบุคคล 2. ความเชี่ยวชาญในการสอบบัญชีประกอบด้วยด้านทักษะทางวิชาชีพ ประสบการณ์วิชาชีพ การควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี และจรรยาบรรณวิชาชีพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ส่งผลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
ดุจกมล นาจารย์. (2557). ผลกระทบของการเรียนรู้ในวิชาชีพอย่างต่อเนื่องที่มีต่อคุณภพกรปฏิบัติงนกร สอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.
รัตติยา วงศรีลา. (2560). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิไลวรรณ โพนศิริ. (2562). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 125-136.
สายฝน อุไร. (2557). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีและการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). มาตรฐานการสอบบัญชี. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567, จาก https://tinyurl.com/35p2ahdz
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2567). มาตรฐานการสอบบัญชี. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567, จาก https://tinyurl.com/52ntpds4
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2567). สมรรถนะหลักสำหรับข้าราชการพลเรือน. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567, จาก https://learningportal.ocsc.go.th/learningspace/courses/1012
อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. (2567). 7 ทักษะแห่งความสำเร็จ. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2567, จาก https://www.slingshot.co.th/th/blog/work-smart
Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager: A Model for Effective Performance. John Wiley & Sons, New York.
Boynton, W. C., and Johnson, R. N. (2005). Modern auditing: Assurance services and the integrity of financial reporting (8th ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.
Knechel, W. R., & Salterio, S. E. (2016). Auditing: Assurance and Risk (4th ed.). Routledge
McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. Princeton, NJ: Van Nostrand.
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than for “Intelligence”. American Psychologist, 28, 1-14.
Prahalad, C.K. and Hamel, G. (1994). Competing for the Future. Harvard Business School Press, Cambridge.