ปัจจัยการยอมรับในการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงบการเงินสำหรับสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สนธยา โพธิ์สุข
สุรีย์ โบษกรนัฎ

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยด้านการยอมรับการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงบการเงินสำหรับสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร 2. ปัจจัยด้านคุณภาพของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงบการเงินสำหรับสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร  ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ สำนักงานบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่จดทะเบียนในฐานข้อมูล คลังข้อมูลธุรกิจ รหัสประเภทธุรกิจ 69200 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งสำหรับข้อมูลในการศึกษารวมทั้งสิ้น 286 ข้อมูล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
          ผลการศึกษา พบว่า 1. ประสิทธิภาพของงบการเงินสำหรับสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานครนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ ปัจจัย ทั้งในเรื่องของปัจจัยการยอมรับการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ อันได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านราคา  ด้านบริการหลังการขาย และด้านประโยชน์ที่จะได้รับ 2. ปัจจัยคุณภาพของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ อันได้แก่ ด้านความยากง่ายในการใช้งาน ด้านความเสถียรของโปรแกรม  ด้านฟังก์ชันในการใช้งาน และด้านบริการหลังการขาย โดยตัวแปรด้านการยอมรับการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์และคุณภาพของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ทั้งหมดส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพของงบการเงินสำหรับสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย. (2563). รายงานประจำปี พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2567, จาก 66eebf58b9b2ed6e94b326f3.pdf

กมลพร เดชาศุภโกศล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express ของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร (บทความวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2567, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin10/6314154218.pdf

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์, และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคทางออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ภัทราจิตร แสงสว่าง และ ชวพจน์ ศุภสาร. (2564) การพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีตามความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก กรณีศึกษานิติบุคคลที่จดทะเบียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2) 85-93

วิลาสินี สว่างงาม และคณะ. (2564). การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบัญชีในบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 สู่ชีวิตวิถีใหม่ ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ. วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุภาภรณ์ ทับเทศ และฉัตรพล มณีกูล. (2565). ความสามารถในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 7(2), 147-148.

สุรัตน์ ยาสิทธิ์ และเสรฐสุดา ปรีชานนท์. (2564). ปัจจัยในการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีของสำนักงานบัญชีในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Moscove, S. A., Simkin, M. G., & Bagranoff, N. A. (2002). Core concepts of accounting information systems (8th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Piyawan, P. and Cheniam, S. (2016). Accounting Information System (3th ed.). Nonthaburi: witthayaphat.

Romney, M., and P. Steinbart. (2006). Accounting Information Systems. New Jersey: Pearson, Inc.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.