ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านการแพทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินผลการดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านการแพทย์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านการแพทย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2566 รวมระยะเวลา 5 ปี จำนวน 22 บริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 110 ข้อมูล ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินผลการดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านการแพทย์ พบว่า อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว(QR) กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI)กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ส่งผลเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (RT) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI)กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ส่งผลเชิงลบต่อต่ออัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
References
จิรัญญา ตาวงษ์ และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2565). ผลกระทบของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 159-171.
จิตสุภา อ่านเปรื่อง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 254-264
ชนานาถ กุลมณี (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ.ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2567, จาก https://www.set.or.th
นิศาชล คำสิงห์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประสิทธิชัย ดอกไม้หอม, และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2563). ผลกระทบของกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไรและการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (รายงาน). การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9, (หน้า 820-831).
ภูมิ วิชญสกุลวงศ์ (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดและการจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืมกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (วิทยานิพนธ์พาณิชยศาสตร์และการบัญชี). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาริสา สุวรรณขะจิตต์ และพรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำกําไรของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 7(2), 371-387.
มยุรา คงสกูล. (2565). ศึกษาผลกระทบระหว่างการกำกับดูแลกิจการ กระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET100. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 273–286.
รัฐิยา ส่งสุข และ ธนกร สังขะรมย์. (2565). ศึกษาผลกระทบระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 386–404.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น และธันยกร จันทร์สาส์น. (2565). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 57–73.
อาภาภรณ์ พันธ์เขียว และ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อ ความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการชำระหนี้ ของกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 227-240.
Al-Qadi, M. and Khanji, M. (2018). The relationship between liquidity ratios and profitability of firms: Evidence from the Jordanian market. International Journal of Economics and Finance, 10(8), 12-21.
Bartz, A. E. (1999). Basic statistical concepts: Essentials of elementary teaching (4th ed.). Merrill.
Businessplus. (2567). อัตราส่วนทางการเงิน . ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.businessplus.co.th/Activities/
Financial Accounting Standards Board (FASB). (2010). Statement of cash flows (ASC Topic 230). Retrieved September 5, 2024, from https://www .fasb.org
Horngren, C. T., et al. (2013). Introduction to management accounting (Global ed.). Pearson.
Subramanyam, K. R., and Wild, J. J. (2009). Financial statement analysis (10th ed.). McGraw-Hill/Irwin.