ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกระแสเงินสด การบริหารสินทรัพย์ กับผลการดำเนินงานทางการเงินของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกระแสเงินสดกับผลการดำเนินงานทางการเงินของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสินทรัพย์กับผลการดำเนินงานทางการเงินของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2566 รวมระยะเวลา 3 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 100 บริษัท รวมทั้งสิ้น 300 ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับอธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สำหรับทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณสำหรับทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ผลการศึกษา พบว่า 1) กิจกรรมกระแสเงินสดมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ และอัตราราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่กิจกรรมกระแสเงินสดมีทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น กล่าวคือกิจกรรมกระแสเงินสดความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น 2) การบริหารสินทรัพย์มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น อัตราราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ และอัตราราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ณัฐิกา สิขัณฑกสมิต. (2560). ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณิศดาภัทธิ์ ชะโลธร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากผลประกอบการกับผลตอบแทนกำไร (ขาดทุน) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี พ.ศ. 2553-พ.ศ. 2562. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ณัฐพล วชิรมนตรี และธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ในหลักทรัพย์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(1)69-80.
ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย. (2564). ทำความรู้จัก กองทรัสต์ (REIT) แตกต่างจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
Property Fund. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567, จาก http://surl.li/dmdpvz
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). SetSMART. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2567, จาก https://www.set.or.th/th/home
ธนพรรฒ ปัญญาเฟื่อง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรกานต์ สวัสดิ์กุลสิริ และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และ อัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET50 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 373-385.
ภูษณิศา ส่งเจริญ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนและความสามารถในการทำกำไร ของบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 177-188.
มโนรา รังสิมาวรางกูร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รัฐิยา ส่งสุข และ ธนกร สังขะรมย์. (2565). ศึกษาผลกระทบระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 386–404.
วรัญญา ณ ราชสีมา และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. วารสารธุรกิจและการบัญขี มหาวิทยาลัยขอบแก่น, 2(2), 52-64
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย. (2567). รู้จักงบกระแสเงินสด พร้อมวิธีอ่านและตัวอย่าง เพื่อสภาพคล่องของธุรกิจ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567, จาก https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1856
โสภณ บุญถนอมวงศ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกําไรและประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรกิจ คำวงศ์ปืน. (2559). การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แนวทางและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิเดช แววสุวรรณ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากจัดหาเงินกับผลตอบแทน หลักทรัพย์ และผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ahmed, B. F., & Mohamed, Z. O. (2016). The impact of liquidity management on financial performance in Omani banking sector. International Journal of Applied Business and Economic Research, 14(1), 545-565.
Almeida, H. (2021). Liquidity management during the Covid-19 pandemic. Asia-Pacific Journal of Financial Studies, 50(1), 7-24.
Barman, R. D. (2023). Financial statement: A tool to evaluate business performance. Business Management and Economics Engineering, 21(2), 819-835.
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.
Laghari, F., and Ahmed, F. (2023). Cash flow management and its effect on firm performance: Empirical evidence on non-financial firms of China. PLOS ONE, 18(6), e0287135.
Markowitz, H. (1952) Portfolio Selection. The Journal of Finance, 7(1), 77-91.
Ruozi, R., & Ferrari, P. (2013). Liquidity risk management in banks: Economic and regulatory issues (pp. 1–54). Publisher.
Saniyah Maulidya, E. W., Sukoco, A., Suyono, J., & Ratnasahara Elisabeth, D. (2019). Analysis of financial performance based on financial ratio and economic value added. International Journal of Integrated Education, Engineering and Business, 2(2), 115-122.