แนวทางการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครองสิทธิ ผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเรา

Main Article Content

ชุติมา สมจิตต์

บทคัดย่อ

      กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยนั้น ได้มุ่งเน้นไปที่การค้นหาความจริงเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยนำมาใช้กับคดีอาญาทุกประเภท จึงทำให้บางประเภทคดี เช่น คดีข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งมีลักษณะคดีพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป ไม่ได้มีการคำนึงถึงผู้เสียหายที่มีฐานะเป็นหนึ่งในคู่ความแห่งคดีเท่าที่ควร ทั้งที่ความจริงแล้ว หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งจะพบว่า ผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราเป็นปัจจัยหลักที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ


      บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการปฏิบัติต่อผู้เสียหายในการดำเนินคดีข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมภาครัฐ ประกอบด้วย พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จำนวน 6 คน กลุ่มที่ 2 สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ประจำศูนย์บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง (One Stop Crisis Center, OSCC) หรือ ศูนย์พึ่งได้” และแพทย์นิติเวช จำนวน 2 คน กลุ่มที่ 3 เครือข่ายภาคประชาสังคม (มูลนิธิเพื่อนหญิง) สื่อสารมวลชน ทนายความ จำนวน 3 คน และกลุ่มที่ 4 นักวิชาการด้านกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรม จำนวน 1 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


      ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติต่อผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราในการดำเนินคดีข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทยได้ก่อให้เกิดสภาพปัญหาด้านผู้เสียหาย สังคม กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการคุ้มครองสิทธิ 2) เห็นควรปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทยให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนตามกระบวนการ ทั้งนี้ เพื่อลดการทำให้ผู้เสียหายตกอยู่ในสภาวะเหยื่ออีกครั้ง จากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา


       จึงควรปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเริ่มตั้งแต่การให้ความสำคัญต่อสิทธิผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราอย่างแท้จริง ด้วยการรับรองสิทธิผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราเป็นลายลักษณ์อักษร เพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดขั้นตอนที่ทับซ้อน สร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมด้วยการจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อจะได้ปฏิบัติต่อผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราได้อย่างเหมาะสม เพื่อทำให้ผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราลดสภาวะการเป็นเหยื่ออีกครั้ง และเต็มใจให้ความร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมชาญ ลิ้มเทียมเจริญ. (2560). มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเรา (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จักรกฤษณ์ วรวีร์. (2565). พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของคดีข่มขืนกระทำชำเรา (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรุงจิรา มณีศิริ. (2565). ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของผู้เสียหายในคดีข่มขืน : กรณีสอบสวนของตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/aa/a

ชมภู่ ใจเงินสุทธิ์ มากมณี, (2565). การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา ศึกษากรณีของศูนย์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญาประจำศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2567, จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=48698&table=files_biblio

บุญทวี เปรมปิยะกิจ (2565). การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาให้มีประสิทธิภาพ. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2567, จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=48534&table=files_biblio

บุญวรา สุมะโน และ ชาตบุษย์ ฮายุกต์. (2565). สู้ให้ชนะ. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2022/05/sexual-harassment-victims-justice-system/

ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง. (2565). เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา (ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปรมยุดา ตันติกนกพร. (2566). การจัดทำข้อเสนอเพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายคดีอาญากรณีความผิดทางเพศด้วย CPR MODEL. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567. จาก, https://www.ocsc.go.th/wpcontent/uploads/2024/05/IS9861_%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B2_CPRmodel.pdf

มงคล อิ่มเจริญ. (2565). ผลกระทบต่อผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศจากความยุติธรรมที่ล่าช้าศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดปราจีนบุรี. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2567, จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=48816&table=files_biblio

พรไพลิน สุทธิสวาท. (2559). การคุ้มครองผู้เสียหายคดีข่มขืนกระทำชำเราทางเพศในชั้นสอบสวน (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รวิตา ระย้านิล. (2565). การโทษเหยื่อในกรณีล่วงละเมิดทางเพศ. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2567, จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/article-victimblame/

วศินี กมลวารินทร์. (2558). มาตรการบำบัดผู้กระทำความผิดทางเพศด้วยวิธีการใช้ยาเพื่อควบคุมฮอร์โมนเพศ(วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วศินี กมลวารินทร์. (2559). มาตรการบำบัดผู้กระทำความผิดทางเพศด้วยวิธีการใช้ยาเพื่อควบคุมฮอร์โมนเพศ. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567. จาก,

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/246638/167587

ไอลีน สกินนิเดอร์ รู้ท มอนต์โกเมอรี่ และ สเตฟานี การ์เร็ตต. (2560). รายงานสรุปการพิจารณาคดีข่มขืนความเข้าใจเรื่องตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อความรุนแรงทางเพศในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2567, จาก https://asiapacific.unwomen.org/sites/default/files/Field%20Office%20ESEAsia/Docs/Publications/2018/11/Trial-of-Rape-THAI-Executive-Summary-compressed.pdf

Cho Kyoon Seok. (2010). The Current Situation and Challenges Of Measures For Victims of Crime in The Korean Criminal Justice System. Retrieved January, 8, 2024, from https://www.unafei.or.jp/publications/pdf/RS_No81/No81_10VE_Seok.pdf

Human Right Watchs. (2013). Improving Police Response To Sexual Assault. Retrieved February, 15, 2024 from https://www.hrw.org/reports/improving_sa_investigations.pdf

Martina Peter. (2016). Meassures To Protect Victims in German Criminal Proceedings. Retrieved January, 25, 2024 from https://unafei.or.jp/publications/pdf/RS_No81/No81_13VE_Peter.pdf