ศิลปะการด้นกลอนลำของหมอลำบุญมา การะกุล

กันต์ สกุลโพน

ผู้แต่ง

  • กันต์ สกุลโพน

คำสำคัญ:

ศิลปะการด้นกลอนลำ, หมอลำบุญมา การะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ศิลปะการด้นกลอนลำของของหมอลำบุญมา การะกุล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีการเรียนลำของหมอลำบุญมา การะกุล ศึกษาศิลปะการด้นกลอนลำของหมอลำบุญมา การะกุล ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลภาคสนามได้จากการสัมภาษณ์และการสังเกตจากผู้รู้ จำนวน 5 คน ผู้ปฏิบัติ 5 คน ระหว่างเดือน มิถุนายน 2558 ถึงเดือน สิงหาคม 2559 นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า หมอลำบุญมา การะกุล เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านนาหมอม้า อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ บิดาชื่อ นายสุรินทร์ การะกุล มารดาชื่อ นางพูน พุ่มผล หมอลำบุญมาได้เรียนการสีซอก่อนที่จะเรียนลำเริ่มเรียนสีซอปิ๊บ กับครูบุญเลิศ ปกป้อง ตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อสีซอชำนาญแล้วจึงเริ่มเรียนลำกับครูแก้ว คะโสภา และมีแม่เป็นผู้ช่วยสอนอีกคนหนึ่ง เมื่อสีซอและลำได้ดีแล้วจึงฝึกหัดแต่งกลอนลำหลังจากได้ฝึกดีแล้วทั้งการสีซอ การลำ และแต่งกลอนได้เอง จึงเริ่มออกเดินทางไปในที่ต่างๆ เพื่อทำการแสดงทั้งลำ และสีซอด้วยตัวคนเดียว มีการถูกเชิญให้แสดงร่วมกับคณะหมอลำใหญ่ๆ บ้างเป็นบางครั้งคราวปี พ.ศ. 2514 เป็น ช่วงเวลาที่หมอลำ บุญมา การะกุลเป็น หมอลำ ทีมี่ชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นหมอลำที่เป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างมาก เนื่องจากหมอลำบุญมาได้มีโอกาสออกอากาศที่สถานีวิทยุกระจายเสียง จ.ส.3 โดยมีโฆษกไพบูลย์ ชมพูคำเป็นผู้จัดรายการกลอนลำที่เป็นที่ประทับใจผู้ฟังมากที่สุดในขณะนั้นคือ “กลอนไล่สถานีรถไฟจากอุบลราชธานีถึงกรุงเทพมหานคร” ศิลปะการด้นกลอนลำ ของหมอลำบุญมา มีลักษณะเฉพาะตัว คือ1) การสะสมประสบการณ์การเรียนรู้จากครูจนกระทั่งเกิดความชำนาญจึงได้เพิ่มกลอนลำใหม่ๆ แทรกเข้ามา 2) การเรียนรู้จากการบอกเล่าของคนอื่นๆและการได้ยินได้ฟังแล้วนำมาปรับปรุงและฝึกฝน 3) หมอลำบุญมามีความสามารถในการเชื่อมคำเพื่อให้กลอนลำมีความลื่นไหลและ 4) หมอลำของบุญมามีศิลปะในการขมวดท้ายกลอนแบบง่ายๆ แต่มีเสน่ห์หมอลำบุญมา การะกุล เป็นหมอลำที่มีพรสวรรค์ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ในการลำและสีซอด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจอย่างมากและมีน้อยคนที่สามารถทำได้

References

เอกสารอ้างอิง
กษมา มั่งประยูร. (2537). ศึกษาหมอลำซิ่งของราตรี ศรีวิไล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

แก้วตา จันทรานุสรณ์. (2546). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ในกลอนลำเรื่องร่วมสมัย (พ.ศ.2537-2542). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จารุบุตร เรืองสุวรรณ.(2528). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เจริญชัย ชนไพโรจน์.(2526 ก). ปื้มกลอนลำ. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

ชุมเดช เดชภิมล. (2521). ภาพสะท้อนชีวิตของชาวอีสานจากหมอลำ. นครปฐม:ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูเกียรติ ฉาไธสง และคม ทัพแสง. (2550). “เสียงซอจากก้านนิ้วนักเพลงตาบอดนาม,”ใน ครูบุญมา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

วีระ สุดสังข์. (2526). “หมอลำศิลปะวรรณคดีอีสาน,” ครูไทย. 28: 60 - 69; สิงหาคม.

สว่าง เลิศฤทธิ์. (2527). “หมอลำ การเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามอง,” วัฒนธรรมไทย.23(11): 38-40; พฤศจิกายน.

เสวต จันทะพรม. (2523). “หมอล?าหมู่ศิลปะที่มหาชนชาวอีสาน,” สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. 16(785):24-25; ตุลาคม.

Azzara, Christopher. (1991). “Audiation Improvisation and Music Learning Theory,” in Visions of Research in Music Education Volume II. (p. 106-109). New York: Facts on File.

Douglas, Gavin Duncan. (2001). “StatePartronage of Burmese Traditional Music,” Dissertation Abstracts International. 62(8): 230-241-A; February.

Green, Brooklin. (2012). Impact of Improvisation on Interpersonal Communication. Master’s Thesis, Washington: Gonzaga University.

Terry, E. Miller. (1998). World Music A Global Journey. 2nd ed. New York: A Member of the Taylor and Francis Group.

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)