การพัฒนาตัวบ่งชี้ ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

อริยาพร โทรัตน์, วัลนิกา ฉลากบาง และนิภาพร แสนเมือง

ผู้แต่ง

  • อริยาพร โทรัตน์
  • วัลนิกา ฉลากบาง
  • นิภาพร แสนเมือง

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ทักษะชีวิตและอาชีพ, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 และตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวบ่งชี้เชิงสมมติฐานที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 447 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .80 – .100 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .99 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .21 - .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรลผลการวิจัย พบว่า 1. ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อยและ 117 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านความยืดหยุ่น และการปรับตัว มี 19 ตัวบ่งชี้ ด้านความเป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำ มี 24 ตัวบ่งชี้ ด้านทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มี 24 ตัวบ่งชี้ ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ มี 26 ตัวบ่งชี้และด้านการเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด มี 24 ตัวบ่งชี้ 2. โมเดลโครงสร้างทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาธยมศึกษา เขต 22 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-Square :χ2) เท่ากับ 17.83 ไม่มีนัยสำคัญ ค่า df เท่ากับ 28 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .00 (Chi-Square = 17.83, df = 28, P-value = .93, RMSEA = .00)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนัสนันท์ รอดเชื้อจีน. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตในบริบทของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2557). ทักษะแห่งอนาคตใหม่. มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2559). การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเพพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิภาวี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แววดาว ดวงจันทร์. (2551). การใช้กิจกรรมทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2555). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต21st Century Skills: The Challenges Ahead. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา. (2557). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ข่าวประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุนทร คล้ายอ่ำ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุวิชา ศรีมงคล. (2557). การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ด้วยสถานการณ์จำลอง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (2560). รายงานการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประจำปีการศึกษา 2559. นครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2558. 13(1) กุมภาพันธ์, หน้า 11-25.

Kay, K. and Chris, D. (2010). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)