ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ใช้ชุดการ ฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิในโรงเรียนดนตรีวรรณกานต์ จังหวัดขอนแก่น

ภูมรินทร์ ฝาชัยภูมิ และ คมกริช การินทร์

ผู้แต่ง

  • ภูมรินทร์ ฝาชัยภูมิ
  • คมกริช การินทร์

คำสำคัญ:

ผลการเรียนรู้, ชุดการฝึกกีตาร์, แนวคิดของซูซูกิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิ เป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่เลือกเรียนวิชากีตาร์ขั้นต้น ในเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2558 เลือกเรียนเฉพาะวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ลงเรียนเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง ของโรงเรียนดนตรีวรรณกานต์ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผลวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความสามารถของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้น ตามแนวคดิ ของซูซูกิ ได้คะแนนภาคทฤษฎีสูงขึ้นเฉลี่ย 5.3 คะแนน ภาคปฏิบัติมีค่าเฉลี่ย 8.5 คะแนน นักเรียนสามารถเล่นกีตาร์เป็นเพลงได้ชัดเจนในค่าจังหวะการเคาะ 80 ครั้ง ต่อ 1 นาที ( = 80) เป็นต้นไป 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ด้านเนื้อหา ได้ค่าเฉลี่ยรวม 4.5 คะแนน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ได้ค่าเฉลี่ยรวม 4.56 คะแนน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก เทคนิคการเรียนการสอนของครู ได้ค่าเฉลี่ยรวม 4.56 คะแนน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านการประเมินผล ได้ค่าเฉลี่ยรวม 4.66 คะแนน อยู่ในระดับ เหมาะสมมากกล่าวโดยสรุปคือ ชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตามแนวคิดของซูซูกิที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ชุดการฝึกซึ่งจะส่งให้ผู้เรียนฝึกกีตาร์ได้อย่างมีความสุข ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (2548). การสอนดนตรีตามแนวคิดของ Kodaly : การศึกษาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนดนตรีวรรณกานต์. (2554). รายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2554. ขอนแก่น:ม.ป.ท.

ศึกษาธิการกระทรวง. (2548). รายงานการสังเคราะหแนวคิดและวิธีจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทยจำกัด.

Shinichi Suzuki.(1983). Nurtured by Love “The Classic Approach to Talent Education” . Suzuki Method International , Miami U.S.A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)