ด่านประเพณี : ความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนญ้อสองฝั่งโขง

ดร.อธิราชย์ นันขันตี

ผู้แต่ง

  • อธิราชย์ นันขันตี

คำสำคัญ:

ด่านประเพณี, ความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ, ชาติพันธุ์ญ้อ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจบนฐานเครือญาติของชุมชนญ้อสองฝั่งแม่น้ำโขงผ่านกิจกรรมด่านประเพณี การศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ และสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม กับกรณีศึกษาชุมชนญ้อ
บ้านท่าดอกแก้วอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ประเทศไทย และชุมชนญ้อบ้านห้วยขมิ้นเมืองหินบูน แขวงคำม่วน สปป.ลาว
ผลการศึกษาพบว่า การข้ามพรมแดนของชุมชนญ้อสองฝั่งโขงเกิดขึ้นพร้อมกันการตั้งขึ้นของชุมชนที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ที่สัมพันธ์ร่วมกันมายาวนาน เป็นวิถีชีวิตของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำที่ข้ามไปมาเพื่อการดำเนินชีวิต ทำมาหากินในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ โดยไม่แยกว่าเป็นฝั่งซ้าย หรือ ฝั่งขวา เมื่อแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงเป็นเส้นพรมแดน การข้ามพรมแดนจึงปรับเปลี่ยนเป็นจุดจอดเรือ เป็นความพยายามของรัฐในการเข้าควบคุมพื้นที่ด่านประเพณียังคงปฏิบัติการปะทะสังสรรค์ในพื้นที่ทางสังคมของผู้คนของสองฝั่งโขง ถือเป็นกลไกลและเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับชุมชน เป็น
เครือข่ายทางสังคมบนฐานเครือญาติ วัฒนธรรม ในขณะที่รัฐชาติมองพื้นที่ดังกล่าวเป็นพรมแดนที่ตายตัว จึงพยายามกำหนดนโยบายเพื่อเสริมสร้างการควบคุมและพัฒนาพื้นที่ในทุกยุคสมัย แต่ชุมชนญ้อทั้งสองกลับมีการปรับเปลี่ยน ลื่นไหล ปรับตัว เพื่อให้การดำเนินชีวิตและข้ามพรมแดนได้อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาแม้จะถูกแบ่งแยกพรมแดนตามนิยามความหมายของรัฐชาติ

References

ขำ พมวิเสด. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (4 ธันวาคม 2559)

ดาว โพชะโน.(ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

ธวัชชัย นามหินลาย. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

หนูสิน สุขวิพัฒน์. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

บัญญัติ สาลี. (2553).“พนมดงรัก : พื้นที่ผู้คนและการปะทะปฏิสัมพันธ์บนพื้นที่ชายแดน” ใน วารสารมนุษย์กับสังคม. ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยศ สันตสมบัติ.(2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

แม จันเพด. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (4 ธันวาคม 2559)

มี้ พมวิเสด (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

ลี จันทะขิน. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

ลือ จอมแก้ว. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

สวรรค์ พลเหลือ.(ผู้ให้สัมภาษณ์). อธิราชย์ นันขันตี. (ผู้สัมภาษณ์). (16 มกราคม 2560)

สุวิทย์ ธีรศาศวัต.(2552). จักรวรรดินิยมเหนือแม่นํ้าโขง. กรุงเทพฯ: มติชน.

โสภี อุ่นทะยา. (2553).“เสียงจากชายแดน : จังหวัดมุกดาหาร-แขวงสะหวันเขต” ในวารสารมนุษย์กับสังคม. ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิรดี แข้โส. (2553). ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย – ลาว พ.ศ. 2518 -2548. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)