การผลิตซ้ำและการสร้างใหม่ในประเพณีบุญข้าวจี่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ชาญยุทธ สอนจันทร์

ผู้แต่ง

  • ชาญยุทธ สอนจันทร์

คำสำคัญ:

การผลิตซ้ำ, การสร้างใหม่, ประเพณีบุญข้าวจี่

บทคัดย่อ

บทความนี้ ผู้เขียนต้องการจะนำเสนอ ประเพณีบุญข้าวจี่ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญประเพณีหนึ่งของชาวอีสานที่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดย
จะศึกษาประเพณีบุญข้าวจี่ของอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด มาเป็นกรณีตัวอย่าง ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประเพณีบุญข้าวจี่ในบริบทสังคมปัจจุบัน มีการสืบทอด การผลิตซ้ำ และการสร้างใหม่อย่างไร ในฐานะเป็นปรากฏการณ์ “คติชนสร้างสรรค์” โดยได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า ประเพณีบุญข้าวจี่ของอำเภอโพธิ์ชัยมีความเป็นพลวัตเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ไม่แน่นิ่งตายตัว มีความเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลา และเป็นประเพณีที่มีการสืบทอด ผลิตซ้ำสร้างใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีบุญข้าวจี่ ของอำเภอโพธิ์ชัย มีการผลิตซ้ำในประเพณีบุญข้าวจี่โดยมีการสืบทอดจากประเพณีเดิมที่เคยปฏิบัติมาแล้ว นำมาผลิตซ้ำใหม่ได้แก่ มีการผลิตซ้ำด้วยวิธีการสื่อสารเรื่องราวนิทานในประเพณีบุญข้าวจี่ มีการผลิตซ้ำด้วยวิธีการปฏิบัติในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และมีการผลิตซ้ำวิธีการทำข้าวจี่แต่เดิมเป็นข้าวจี่แบบชาวบ้านเปลี่ยนมาเป็นข้าวจี่บนพื้นที่ของรัฐ สำหรับการสร้างใหม่ในประเพณีบุญข้าวจี่ มีการหยิบยืมเอาประเพณีบุญข้าวจี่มาสร้างอุดมการณ์ทางการเมือง มีการสร้างใหม่ด้วยการนำเอาประเพณีบุญข้าวจี่มาสร้างอัตลักษณ์ของชาวอำเภอโพธิ์ชัย และมีการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ผลิตสินค้าการเกษตรผ่านประเพณีบุญข้าวจี่ และมีการนำเอาประเพณีบุญข้าวจี่มาเป็นเครื่องมือในการสร้างเครือข่ายทางสังคม ได้อย่างน่าสนใจ

References

อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. (2557). การประเมินผลการจัดงานประเพณีบุญข้าวจี่ของดีเมืองโพธิ์ชัย ประจำปี 2557 วันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2557. เอกสารอัดสำเนา.

จันทะนี คามะดา. (2548). ประเพณีบุญข้าวจี่กับสังคมและวัฒนธรรมตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ธวัช แสงแดง. (2551). บทบาทของเทศบาลตำบลโพธิ์ไทรในการอนุรักษ์และพื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ อ?ำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2556). มานุษย์โรแมนติค. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2559). ความเป็นชาติไทยในประเพณีอีสานร่วมสมัย : รัฐ ทุน อำนาจและชาติพันธ์ุ. วารสารมนุษย์กับสังคม 1(2) มกราคม - มิถุนายน 2559.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2558).”พลวัตและการสร้างประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง” ใน ประเพณีประดิษฐ์สร้างสรรค์ในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2558). “การสืบทอดและการผลิตซ้ำประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับพระอุปคุตในสังคมไทยปัจจุบัน” ใน ประเพณีประดิษฐ์สร้างสรรค์ในสังคมไทย
ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. (ม.ป.ป.) ฮีตสิบสอง. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาชน.

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2558). “เรื่องเล่าพื้นบ้านกับการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP) ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์”. ใน เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลก
ที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)