การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเพณีพิธีกรรม เกี่ยวกับองค์ปู่ศรีสุทโธนาคแห่งป่าคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

สุภีร์ สมอนา

ผู้แต่ง

  • สุภีร์ สมอนา

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงประเพณีพิธีกรรม, คำชะโนด, พญานาค, นาคี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับองค์ปู่ศรีสุทโธนาคแห่งป่าคำชะโนด ด้านความหมาย รูปแบบ และบทบาทหน้าที่และ 2) ศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับองค์ปู่ศรีสุทโธนาค แห่งป่าคำชะโนด ด้านความหมาย รูปแบบ และบทบาทหน้าที่ การวิจัยนี้กระทำผ่านวิธีวิทยาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2560 โดยใช้เครื่องมือแนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guide) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview : SSI) ซึ่งใช้สัมภาษณ์ทั้งรายบุคคล (Individual Interview) สัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสนทนากลุ่ม (Group Discussion) ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงโดยใช้หลักเกณฑ์อายุและการผ่านประสบการณ์ในเรื่องที่ศึกษาได้แก่ พระสงฆ์ 1 รูป ผู้รู้ 3 คน ผู้นำชุมชน 2 คน กรรมการวัด 2 คน ผู้ค้า 3 คน และชาวบ้านทั่วไป 3 คน ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับองค์ปู่ศรีสุทโธนาคแห่งป่าคำชะโนดซึ่งเคยมีบทบาทหน้าที่ในพิธีกรรมในวิถีชีวิตจริงได้กลายมาเป็นสิ่งที่ขายได้หรือ “สินค้า” เพื่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ แต่ประเพณีพิธีกรรมขององค์ปู่ศรีสุทโธนาคยังคงความหมาย ความ “ศักดิ์สิทธิ์” การเป็น “ดินแดนลี้ลับ” โดยความหมายที่ยังคงอยู่ทำให้คนภายนอกเข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อบริบทการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจจนส่งผลกระทบทางวัฒนธรรมทำให้ 1) ชุมชนสูญเสียความสัมพันธ์กับพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรม 2) สินค้าที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมไม่ได้ถูกผลิตขึ้นในชุมชน 3) เกิดระบบเศรษฐกิจภายนอกขนาดใหญ่ และ 4) ตำนาน ความเชื่อย้ายข้ามแดนหรือภูมิภาคเพื่อไปรับใช้บริบทใหม่และวัตถุประสงค์ใหม่

References

เชิดชาย หิรัญโร. (2557). ภูมิปัญญาล้านนาในการประยุกต์คัมภีร์และพิธีกรรมสืบส่งถอนที่เกี่ยวกับพิบัติภัยในปัจจุบัน. ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทศพล จังพานิชย์กุล. (2559). มนต์วังคำชะโนด. กรุงเทพฯ : คอมม่า ดีไซน์แอนด็พริ้นท์.

บรรหาร ทินประบุตร. (บรรณาธิการ). (ม.ป.ป.). อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์พญานาคปู่อือลือเจ้าวังบาดาลบึงโขงหลง. กรุงเทพฯ : แบงค์คอกบุ๊ค.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2556). “แม่น้ำโขงกับการเป็นเวทีของประเพณีประดิษฐ์ในอีสาน” อักษรศาสตร์. 42(2) :169-217.

ประเสริฐ รุนรา. (2557). พิธีสวดนพเคราะห์ : พลวัตของพิธีกรรมประดิษฐ์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2557). พระอุปคุต : การสืบทอดและการผลิตซ้ำความเชื่อ ตำนานและพิธีกรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง. (บรรณาธิการ). (2558). เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สยามเมืองยิ้ม. (2551). “คำชะโนด ดินแดนที่มีความเชื่อเป็นเกราะพิทักษ์ธรรมชาติ” ผู้นำท้องถิ่น. 7(13) : 81-82.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). “พหุวัฒนธรรมในสังคมเปลี่ยนผ่าน” ใน จินตนาการทางมานุษยวิทยา แล้วย้อนมองสังคมไทย. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อ้างอิงเวบไซด์
เนชั่นทีวี. (2560). ประชาชนแห่ชมคำชะโนด 2 พญานาควัดคลอง 11. http://www.nationtv.tv/main/content/social/378551803. (14 มิถุนายน 2560).

อ้างอิงสัมภาษณ์
ก้อน แสงอรุณ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (11 พฤษภาคม 2560).

ประยูร จงกลาง (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (19 พฤษภาคม 2560).

พงษ์ศักดิ์ ศรีชนะ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (4 พฤษภาคม 2560).

พระครูสุทธิจันทราภรณ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (11 พฤษภาคม 2560).

วิเชียร แสนสุข (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (11 พฤษภาคม 2560).

สุวัฒน์ เกินดี (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (21 พฤษภาคม 2560).

อธิคม แสงจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สุภีร์ สมอนา (ผู้สัมภาษณ์). (21 พฤษภาคม 2560).

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)