การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนครเขต 3

เนตรนภา คำหนองหว้า, วัลนิกา ฉลากบาง และ ปราณทัตต์ แสนวิเศษ

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา คำหนองหว้า
  • วัลนิกา ฉลากบาง
  • ปราณทัตต์ แสนวิเศษ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ร่างกรอบความคิดการวิจัยโดยศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) นำร่างกรอบแนวคิด การวิจัยไปสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การตรวจสอบความ
เหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.52 – 0.95 และค่าความเชื่อมั่น0.99 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 109 คน หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวน 109 คน และครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 181 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ(Percentage), ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของบุคลากร การทำงานเป็นทีมและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2) ขอบข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนและการส่งต่อ 3) กระบวนการทำงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนประกอบด้วย วงจรคุณภาพ PDCA การประสานงาน และการมีส่วนร่วม และ 4) ประสิทธิผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยนักเรียนเป็นคนดี นักเรียนเป็นคนเก่ง และนักเรียนมีความสุข 2. รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก และมีความเป็นไปได้โดยรวมในระดับมาก

References

กรมสุขภาพจิต. (2548). คู่มือการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 95 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2546. กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – พ.ศ. 2564). http: //www.moe.go.th. (1 เมษายน พ.ศ. 2560).

เตรียมศักดิ์ อินอุเทน. (2551). ประสิทธิผลการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดส?ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธงชาติ วงษ์สวรรค์. (2553). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชุม ปิ่นสกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ไพโรจน์ เคนวิเศษ. (2558). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วนิดา เพริศแก้ว. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนช่วงชั้นที่ 3- 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สมคะเน พิสัยพันธ์. (2555). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชุมชนมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก นาห้วยทราย. (2552). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตภาคเหนือ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2557) คู่มือการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. สกลนคร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเอกสารสรุปย่อองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาทีมงานขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการก้าวอย่างยั่งยืน ปี 2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2551). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2552). รายงานผลการวิจัยและพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

อรวรรณ แสนเยีย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อวยชัย ศรีตระกูล. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)