การศึกษาทัศนคติและการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากวัสดุหญ้านวลน้อย

วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์จากหญ้านวลน้อย, ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน, การประเมินผลิตภัณฑ์, พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็น การศึกษาหญ้านวลน้อยเพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในบ้าน เป็นการวิจัยด้วยวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมวิธีเชิงปริมาณกับวิธีเชิงคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมาย 2 ประการ คือ 1) ศึกษาคุณสมบัติเศษวัสดุหญ้านวลน้อยทดลอง ทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุ เพื่อนำมาสู่ การออกแบบและจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งภายในบ้าน และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้านวลน้อยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดการดำเนินการวิจัยเป็นการทดลองผลิตเยื่อกระดาษและพัฒนาวัสดุจากหญ้านวลน้อยนำสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ จากนั้นจึงดำเนินการประเมินผลิตภัณฑ์และการสำรวจตลาดทัศนคติและการยอมรับของผู้บริโภคโดยการใช้แบบสอบถามในกลุ่มคนวัยทำงานจำนวน 100 คน ผลจากการวิจัยพบว่า ตามความมุ่งหมายของการวิจัยข้อ 1 วัตถุดิบหญ้านวลน้อยสามารถแปรรูปเป็นเยื่อและผลิตแผ่นกระดาษได้ สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการปะติดและการกดพิมพ์ จึงนำวัสดุที่ได้สู่การออกแบบและจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ผนัง
ประดับ ผลการวิจัยตามความมุ่งหมาย ข้อ 2 พบว่า ผลการประเมินผลิตภัณฑ์ ในประเด็นความเหมาะสมของวัสดุ ด้านความงาม ประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัย และมีมูลค่าใน
การขาย ผลรวมมีค่าเท่ากับ 4.41 อยู่ในระดับดี และจากการสำรวจตลาด พบว่าพฤติกรรมผู้บริโภค ส่วนใหญ่ตกแต่งบ้านโดยใช้ของตกแต่งบ้านที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ประเภทพืชเส้นใย เพื่อสร้างบรรยากาศใหม่ๆภายในบ้านตนเอง ชอบความคิดสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ และเพื่อเป็นของที่ระลึก ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดไม่เกิน 50 เซนติเมตร มีรูปแบบที่เป็นเอกเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีความงามของวัสดุ นิยมตกแต่งห้องทำงานและห้องรับแขก ส่วนใหญ่ ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อของแต่งบ้าน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์สื่อถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นผลคะแนนเท่ากับ 4.74 ด้านราคาเหมาะสมกับคุณภาพสินค้าผลคะแนนเท่ากับ 3.96 ช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าหาซื้อได้ตามศูนย์การค้าในเขตชุมชนเมืองผลคะแนนเท่ากับ 4.17 และการส่งเสริมการตลาดโดยมีรับประกันสินค้าตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดผลคะแนนเท่ากับ 3.87

References

จิราพร ร้อยมะลิ. (2553). ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้า. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ, (AULJ), 3 (1), 257-276.

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2555). ผลิตภัณฑ์ใหม่และกลยุทธ์ทางธุรกิจ. วารสารวิชาการศรีประทุมชลบุรี, 9 (2), 44-52

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34 (1), 177 – 191.

สุทธาภา อมรวิวัฒน์และคณะ. (2560). INSIGHT ถอดหน้ากากผู้บริโภคยุค 4.0. กรุงเทพมหานคร : Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน).

สิน พันธ์พินิจ. (2535). การจัดการสนามหญ้า. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น.

สิทธิชัย ฝรั่งทอง. (2556). ผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumer). Energy Saving , 5 (52),74-75

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรียรัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2541).การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

Yoshie Terashima, Azusa Fujiie. (2007). Comparison of conditions for mycelial growth of Lepista sordida causing fairy rings on Zoysia matrella turf to those on Agrostis palustris turf. Mycoscience, 48:368. DOI 10.1007/s10267-007-0374-4.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)