วาทกรรมความยากจนของคนอีสาน ในบทเพลงลูกทุ่งของต่าย อรทัย

สันติ ทิพนา, ราตรี ทิพนา

ผู้แต่ง

  • สันติ ทิพนา
  • ราตรี ทิพนา

คำสำคัญ:

วาทกรรม, ความยากจน, คนอีสาน, เพลงลูกทุ่ง, การโหยหาอดีต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมความยากจนของคนอีสานในบทเพลง ลูกทุ่งของต่าย อรทัย โดยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่าวาทกรรมความยากจนด้านทรัพย์สินเงินทอง ปรากฏวาทกรรมย่อย ดังนี้ 1) ด้านรายได้ ทำงานแลกเงินด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน 2) ด้านที่อยู่อาศัย ต้องเข้ามาเช่าห้องเช่าเล็กๆ 3) ด้านอาหารการกิน หวนคิดถึงอาหารอีสานที่แม่เคยทำให้รับประทาน รับประทานอาหารตามร้านปากซอย ตามแผงขายอาหาร ตามร้านจิ้มจุ่มปากซอย และ 4) ด้านเครื่องนุ่งห่ม สวมเสื้อผ้าที่เสื้อผ้าเก่าๆ หรือเสื้อผ้าที่ราคาไม่แพงมากนักวาทกรรมความยากจนโอกาสทางการศึกษา เพราะปัญหาความยากจนไม่มีทุนที่จะส่งตนเอง เรียนจึงต้องออกมาทำงานหาเงินเพื่อไปจุนเจือครอบครัว คนอีสานได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย ไม่มีโอกาสเรียนถึงระดับปริญญาตรี และต้องออกมาทำงานเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัววาทกรรมความยากจนอำนาจ ลูกจ้างไม่มีอำนาจในการต่อรองระหว่างนายจ้างจึงได้รับผลกระทบ ต่อค่าแรงขั้นต่ำในการทำงานของลูกจ้าง เพราะไม่มีอำนาจในการต่อรองวาทกรรมปรากฏการณ์การโหยหาอดีต คนอีสานที่จากบ้านเกิดเมืองนอนมาทำงานในเมืองหลวง ทำให้หวนคิดถึงบ้านเกิดของตนเอง หวนคิดถึงพ่อแม่ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องของตนเอง หวนคิดถึง แผ่นดินเกิด คิดถึงบุญประเพณี เช่น เทศกาลสงกรานต์ งานไหว้พระธาตุ งานบุญต่างๆ ฯลฯ

References

กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และจันทิมา เอียมานนท์. (2549). มองสังคมผ่านวาทกรรม. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

เจด็จ คชฤทธิ์. (2556). “ความจนในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง : มุมมองและข้อสังเก9บางประการ”. วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(2), กรกฎาคม-ธันวาคม 2556 : 189.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (ม.ป.ป). การปฏิรูปการศึกษา : ทางออกเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์วิภาษา.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2551). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ราชบัณฑิตสถาน. (2550). พจนานุกรมคำใหม่เล่ม 1. กรุงเทพฯ : แม็ค.

วารุณี วงษา. (2542). การจัดการบ้านเรือน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

วิภาวี เกียรติศิริ. (2529). สวัสดิศึกษา. ปทุมธานี : วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สันติ ทิพนา. (2559). “วาทกรรมความรักชาติผ่านบทเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)” ใน วารสารวิถีสังคมมนุษย์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน. หน้า 174-201.

สมชัย ศรีนอก. (2553). พัฒนาการความเชื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อเรื่องบาปบุญในบทเพลงลูกทุ่งอีสาน. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ มหาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมลํ้าของประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม.

สุเมธ แก่นมณี และคนอื่นๆ. (2546). การพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)