รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก

วิชนีย์ ทศศะ, วัลนิกา ฉลากบาง

ผู้แต่ง

  • วิชนีย์ ทศศะ
  • วัลนิกา ฉลากบาง

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การนิเทศภายใน, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ปัจจุบันระบบการศึกษาไทยกำลังประสบปัญหาประการหนึ่ง คือการมีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากโรงเรียนเหล่านี้จะมีปัญหาในการจัดการศึกษาที่เหมือนกัน คือ ปัญหาด้านคุณภาพการจัดการศึกษาค่อนข้างต่ำ เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า มีข้อจำากัดด้านบุคลากรครูขาดการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของผู้บริหารโรงเรียน การนิเทศภายในโรงเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพราะการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และครูภายในโรงเรียนในการแนะนำช่วยเหลือให้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน และพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐาน สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ ปัจจัยที่เอื้อต่อ การนิเทศภายในโรงเรียนประกอบด้วย ความรู้และทักษะของบุคลากรการนิเทศ, พฤติกรรมและแรงจูงใจของผู้รับการนิเทศ, บรรยากาศในโรงเรียน, ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และวัฒนธรรมโรงเรียนขอบข่ายการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาหลักสูตร, ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม, ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน, ด้านการจัดการเรียนการสอน, ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา, ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง และด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ การศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการนิเทศ, การวางแผนการนิเทศ, การปฏิบัติการนิเทศ, การประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประเมินและสรุปผลการนิเทศ ผลของการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย ประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนของครู, ความพึงพอใจและทัศนคติที่ดีของครูต่อการนิเทศ และคุณภาพผู้เรียน

References

กรวีร์ เกษบรรจง. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

จักรกฤษ สมศิลา. (2557). การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จิรภรณ์ ส่งเสริม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการนิเทศภายในของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฑัณฑิกา โพธิ์คำ. (2556). การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี.

ธนนันท์ คณะรมย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามรูปแบบการนิเทศภายในกับความต้องการ การนิเทศภายในของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นพพงศ์ คงประจักร. (2556). การนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปนัดดา ศิริพัฒนกุล. (2558). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พัชรินทร์ สำนักวิชา. (2556). ปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

พงษ์ศักดิ์ ทองไซ. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวงเพชร ติรคุณบูรณะ. (2556). ความต้องการการนิเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในโรงเรียนนานาชาติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพิ่มพูล ร่มศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2545). การนิเทศการสอน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

วันชัย อยู่ตรง. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานนิเทศภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วิชัย มานะพิมพ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ศรันย์ภัทร์ อินทรรักษาทรัพย์. (2558). แนวทางพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สาวิตรี จิตเผือก. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มย่อยที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

สงบ พลอยพิชิต. (2557). การพัฒนาหลักสูตร เรื่อง วัฒนธรรมทวาราวดีเมืองอู่ทองกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุจิตรา แซ่จิว. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนของครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุปรียาอร สีสะแล. (2554). การศึกษาความต้องการการนิเทศภายในของครูวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาจังหวัดจันทบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). การนิเทศภายใน : หัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน. วารสารวิชาการ. 5(8), หน้า 25–31.

สุรชัย คูณแก้ว. (2555). การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อรรถพล ปิ่นมั่น. (2550). ปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Garubo, R,C., and Rothstein,W.S. (1998). Supportive Supervision in Schools. London: Greenwood Press.

Glickman. C. D. (2004). Supervision of Instruction. (2nd ed.). Boston : Allyn and Bacon.

Goldhammer, J. (1996). Under the Influence : The Destructive Effects of Group Dynamics. New York Amherst : N.Y.Prometheus Books.

Harris, B. M. (1985). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs, New York : Prentice – Hall.

Nesgley and Evans. (2004). Handbook for Effective Supervision of Instruction. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall,Inc.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)