การศึกษาตัวบทและบทบาทของผีปู่ตา ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

อนันต์ศักดิ์ พลแก้วเกษ

ผู้แต่ง

  • อนันต์ศักดิ์ พลแก้วเกษ

คำสำคัญ:

บทบาท, ผีปู่ตา, ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

ความเชื่อเรื่องผีปู่ตาอยู่คู่กับสังคมอีสานมาช้านาน สืบทอดรุ่นสู่รุ่นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่สามารถปฏิเสธได้ จากการศึกษาตัวบทและบทบาทของผีปู่ตา ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาตังบทและบทบาทของผีปู่ตาดังกล่าว จากการศึกษา พบว่า การศึกษาตัวบทในการทำพิธีบูชาผีปู่ตา การเรียงลำดับตัวบท แบ่งออกเป็น 4 ประเภท กล่าวคือ การเซ่นไหว้บูชาผีปู่ตา การเสี่ยงทาย การบนบาน(การบ๋า) และการขอพร โดยทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวผู้ที่มีความประสงค์จะประกอบพิธี
จะต้องให้ผู้เป็นเฒ่าจ้ำเป็นผู้นำาพาประกอบพิธีทั้งหมด เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผู้สามารถสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ตน นับถือได้ส่วนบทบาทของผีปู่ตาแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ บทบาทด้านปัจเจกบุคคลบทบาทด้านครอบครัว และบทบาทด้านสังคม ทั้งนี้บทบาททั้ง 3 ประเด็น ล้วนแล้วแต่เป็นบทบาทของการคลายความคับข้องใจให้แก่ชาวบ้าน เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตและการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่เป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน

References

บุญยงค์ เกศเทศ. (2535). “ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน” ในเอกสารการสัมมนาเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน. นครราชสีมา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและจังหวัดนครราชสีมา.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2542.) สถาบันป่าดอนปู่ตาและบทบาทพฤติกรรมของเฒ่าจ้ำในชุมชนอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2541- พฤษภาคม 2542

ภัชราภรณ์ สาคำ. (2551). การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสาน 2463-2453. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริกัญญา ปิตยานนท์. (2551). ความเชื่อในการนับถือผีของชาวมอญในสังคมไทย. ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมพร ธงศรี. (2529). “บ้าน ผี วัด เค้าโครงแห่งสถาบันหมู่บ้าน” ชุมชนพัฒนา. (3 กันยายน 2529).

ลอง สุทธิประภา. (15 มีนาคม 2559) สัมภาษณ์. เฒ่าจ้ำศาลปู่ตาบ้านนากระตึบ ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)