การใช้สื่อใหม่เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฤทัย นิ่มน้อย

ผู้แต่ง

  • ฤทัย นิ่มน้อย

คำสำคัญ:

สื่อใหม่, สื่อดิจิทัลใหม่, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, พฤติกรรมการใช้สื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติและพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของเจตคติและพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่กับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตสารสนเทศศาสตร์ที่มีเพศ ชั้นปี และระบบการศึกษาแตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 4 จำนวนทั้งสิ้น 190 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่านิสิตมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในระดับมาก ( =3.96) มีเจตคติต่อการใช้สื่อใหม่ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับมาก ( =4.15) และมีพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับมาก ( =3.99) เช่นกันด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตมีความสัมพันธ์กับเจตคติและพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโสสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จันทนี รุ่งเรืองธนาผล และ พิสิฐ ลิ้มอารีย์สุข. (2558). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ชนากิตต์ ราชพิบูลย์. (2553). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเล้าธนบุรี.

ชาญ กลิ่นซ้อน. (2550 ). การศึกษาเจตคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชุลีพร สว่างเนตร. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐิตินัน บ. คอมมอน. (2556). สื่อใหม่กับการเรียนรู้และการสร้างค่านิยมทางสังคมของเยาวชนไทย. https://www.annualconference.ku.ac.th/cd53/13_034_O285.pdf (16 พฤศจิกายน 2558).

ภัทราวดี ธีเลอร์ และ กรทักษ์ ธาดาธีรธรรม. (2558). “แนะนำ Pinterest สื่อใหม่กับการเรียนการสอนยุคศตวรรษที่ 21,” Executive Journal. https://www.bu.ac.th/knowledgecenter /executive_ journal/oct_dec_12 /pdf/aw018.pdf (19 ธันวาคม 2559).

ภมร บุตรสีทัด และรัชนีศิริ ประพิมพ์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยพิชญบัณฑิต ศูนย์อุดรธานี. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. วันที่ 21 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก.

ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559). มหาสารคาม : คณะวิทยาการสารสนเทศ.

วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2558). ปรากฏการณ์ทางการสื่อสารยุคดิจิทัล. https:// kmcenter.rid.go.th/kmc08/ km_59/cop_59/mom.pdf (19 มีนาคม 2560).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศรัญญา ไชยวรรณ. (2554). สื่อใหม่ในสังคมการเมืองไทย กรณีศึกษา เฟซบุ๊กวอยส์ทีวี. การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำานักนายกรัฐมนตรี.

สินีมาศ สร้อยคีรี และ ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2550). “ยุทธศาสตร์การพัฒนาทัพยากรมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.),” วารสารวิจัยมสด. 3(3): 82-94.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2558. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

Boyd, D. (2008). Taken out of context, Doctoral Thesis, University of California, Berkeley.

It24hrs. (2560). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตคนไทย ปี 2559. https://www.it24hrs.com/2016/etda-thailand-internet-user-profile-2016 (19 มีนาคม 2560).

Livingstone, S. and Bober , M. (2004). UK Children Go Online: Surveying the Experiences of Young People and their Parents. London: London School of Economics and Political Sciences.

Marketing Oops!. (2016 ). จริงหรือ? ว่าสื่อดิจิตอลของไทย มีผลเฉพาะกับคนรุ่นใหม่และคนเมืองเทา่นั้น . https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/mec-digital (19 มีนาคม 2560).

Robinson, Ken. (2006 ). Changing Education Paradigms. https ://www.ted.com/talks/ ken_robinson_ changing_education_paradigms (19 มีนาคม 2560).

Sally McMillan. (2006 ).“Exploring Models of Interactivity from Multiple Research Traditions: Users, Documents and Systems”. Leah A. Lievrouw, Sonia Livingstone, editors, The Handbook of New Media. 220.

Wertime, K. and Fenwick, I. (ed.) (2012). DigiMarketing: The Essential Guide to New Media and Digital Marketing. Hoboken, NJ : John Wiley & Sons.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)