ศึกษารูปแบบการประพันธ์เพลงลูกทุ่งหมอลำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ดร.จินดา แก่นสมบัติ

ผู้แต่ง

  • จินดา แก่นสมบัติ

คำสำคัญ:

เพลงลูกทุ่งหมอลำ, การประพันธ์เพลง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการประพันธ์เพลงลูกทุ่งหมอลำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยใช้เครื่องมือวิจัยประเภท แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง โดยรูปแบบการประพันธ์เพลงลูกทุ่งหมอลำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มประกอบด้วยรูปแบบการประพันธ์ทางด้านเนื้อหาและรูปแบบการประพันธ์ทางด้านทำนอง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการประพันธ์ทางด้านเนื้อหานักประพันธ์ได้นำเสนอเนื้อร้องที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องเป็นคำร้องที่ใช้ภาษาง่ายๆ ตรงไปตรงมา เนื้อหาเพลงสะท้อนถึงสภาพสังคม ความเป็นอยู่ ศิลปะและวัฒนธรรมในด้านภาษาบทเพลงได้แสดงภูมิปัญญาในการใช้ภาษาของนักประพันธ์ ส่วนรูปแบบการประพันธ์ทางด้านทำนอง มีการนำเอาวาดลำ (ทำนองลำ) ซึ่งเป็นทำนองพื้นบ้านมาผสมผสานกับทำนองเพลงลูกทุ่งหรือแนวเพลงอื่นๆ โดยมีนำวาดลำที่สำคัญ ได้แก่ วาดขอนแก่น วาดกาฬสินธุ์ เต้ย กาพย์เซิ้งบั้งไฟ วาดภูไท วาดลำเพลิน วาดลำเดิน วาดลำแพน เป็นต้น อีกทั้งยังนำดนตรีพื้นบ้านอีสานบรรเลงผสมผสานกับดนตรีสากลในแต่ละบทเพลง ซึ่งรูปแบบการประพันธ์ดังกล่าวเป็นการประพันธ์เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี อันนำไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมเพลงในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับ ค่านิยม ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ประพันธ์จำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบการประพันธ์ คำร้องและทำนอง-เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

References

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). หมอลำหมอแคน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย.

ทัศน์วศิน ธูสรานนท์และพรพรรณ ประจักษ์เนตร (2560). พัฒนาการในการสื่อสารของเพลงลูกทุ่งผ่านการเล่าเรื่องตามค่านิยม ของสังคมไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน. ในวารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า ปี ที่ 4 ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2560) หน้า 1-30.

นิพินธุ์ สุวรรณรงค์. (2549). การศึกษาวิเคราะห์การประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่งโดย สลา คุณวุฒิ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ. (2559). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ทางดนตรี. ในวารสาร MFU Connexion Journal of Humanities and Social Sciences. Vol. 5 No. 1 January-June.

สิทธิศักดิ์ จำปาแดง และคณะ. (2550). การสร้างฐานข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ ทำนองลำและวรรณกรรมคำกลอนของหมอลำกลอนในภาคอีสาน. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิริชญา คอนกรีต. (2560). ศึกษาวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่เพลงลูกทุ่งใช้เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ และการเมืองของคนอีสานพลัดถิ่น. ในวารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560 หน้า 1577-1594.

สุกรี เจริญสุข. (2532). แนววิเคราะห์เพลงพื้นบ้านกับเพลงลูกทุ่ง. กรุงเทพฯ : สมาคมกิจวัฒนธรรม.

ออนไ ลน์
สำนักสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.เพลงลูกทุ่งอีสานกับลักษณะการใช้ภาษาและการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น : ศึกษาในผลงานเพลงของศิริพร อำไพพงษ์, https://lib.ku.ac.th/KUCONF/KC4413005.pdf. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561.

ประชาไท.สลา คุณวุฒิ: ความ(ไม่)เปลี่ยนแปลงของวงการลกู ท่งุ ไทย, https://prachatai. com/journal/2017/06/72057.สืบค้นเมื่อเมื่อ 15 ตุลาคม 2561

สัมภาษณ์:
จิระวัฒน์ ปานพุ่ม. กลุ่มผู้ปฏิบัติ. ผู้อำนวยการผลิต, นักเรียบเรียงเสียงประสาน. เลขที่ 118/56 ถนนคู้บอน แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ. สัมภาษณ์โดย จินดา แก่นสมบัติ วันที่ 15 กันยายน 2558

ชานนท์ ภาคศิริ (สุรินทร์ ภาคศิริ). กลุ่มผู้ปฏิบัติ นักประพันธ์เพลง, นักจัดรายการ. 12-14 ซอยวัฒนาคาม ถนนริมคลองประปา เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ. สัมภาษณ์โดย จินดา แก่นสมบัติ วันที่ 27 กันยายน 2558

นนท์ พลางวัน (แวง พลางวรรณ). กลุ่มผู้รู้ นักวิชาการ, นักเขียน. 44/311 ซ.นวมินทร์ 147 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ. สัมภาษณ์โดย จินดา แก่นสมบัติ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558.

บุญชื่น เสนาลาด (ศักดิ์สยาม เพชรชมพู). กลุ่มผู้รู้. นักร้องลูกทุ่ง. 144 หมู่ที่ 4 บ้านนานกเขียน ต.หนองโน อ. เมือง จ.มหาสารคาม. สัมภาษณ์โดย จินดา แก่นสมบัติ วันที่ 30
มกราคม 2558.

บุญเสาร์ ประจันตะเสน (พรศักดิ์ ส่องแสง). กลุ่มผู้ปฏิบัติ . นักร้องลูกทุ่งหมอลำา. 236 หมู่ที่ 14 ต.บ้านขาม อ.หนองบัวลำภู จ.หนองบัวบัวลำภู. สัมภาษณ์โดย จินดา แก่นสมบัติ วันที่ 8 สิงหาคม 2558

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)