“หลี่” ภูมิปัญญาแห่งหลี่ผี

กังสดาล จงคา

ผู้แต่ง

  • กังสดาล จงคา

คำสำคัญ:

หลี่, ภูมิปัญญา, ลาว, แม่นํ้าโขง, จำปาสัก

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของหลี่ในชุมชนบ้านคอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในสองระดับคือการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาในระดับพื้นที่โดยการสำรวจภาคสนามคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แนวทางการสัมภาษณ์แนวทางการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และชาวบ้านทั่วไปที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2556 – 2559 ผลการวิจัยพบว่าโดยมีพื้นที่การศึกษาคือบ้านคอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาด้านรูปแบบพบว่าชุมชนบ้านคอนมีการสร้างหลี่แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบไม่มีที่พักอาศัยและแบบมีที่พักอาศัย ภูมิปัญญาด้านวัสดุพบว่าชุมชนบ้านคอนมีการใช้วัสดุแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ไม้ไผ่ หวาย และไม้สะแก นอกจากนี้ในการสำรวจลงพื้นที่ของผู้วิจัยยังพบวัสดุนอกจากนี้คือ ตะปู เชือกไนล่อนเอ็นและด้ายเนื่องจากหาซื้อได้ง่าย สะดวกและยังมีความทนทานต่อการใช้งาน ภูมิปัญญาด้านกลไกลและการใช้งานพบว่าชุมชนบ้านคอนมีการสร้างกลไกเพื่อใช้ในการดักปลามีกลไก 3 ส่วนคือตัวหลี่ คอกหลี่และเฝือกหลี่

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2538). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์. (2538). พิพิธภัณฑ์พื้นฐานบ้านจ่าทวี. พิษณุโลก: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี - พิมพ์ บูรณเขขต์).

ชญาพรรธน เมธีธนันวัฒน์. (2555). พันธุ์ปลาแม่นํ้าโขงตอนล่าง จากเชียงคานถึงปากชม. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม: องค์กรแม่นํ้าเพื่อชีวิต (วนิดาการพิมพ์).

ทรงคุณ จนัทจร. (2549). การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในเรื่องทรัพยากรดิน นํ้า ป่า ของกลุ่มชาติพันธุ์ กะเลิง ทุ่งกุลา อาณาจักรเกลือ 2000. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2542). กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์จำกัด

พรศิริ บูรณเขตต์. (2550). กับดักสัตว์ไทยประดิษฐ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน กับดักวิถี..กรุงเทพฯ: มติชน.

ไพจติ ศลิารกัษ ์และคณะ. (2547). รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบรูณ์โครงการ ศึกษารูปแบบการหาปลาที่เหมาะสม กับสภาพระบบนิเวศน์ ของชุมชน ลุ่มแม่นํ้ามูนตอนกลาง.

บูชิตา สังข์แก้ว. (2540). วัฒนธรรมปลา และจุดจบตำนานพรานปลาแม่นํ้ามูล. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2548). ชีวประวัติและวงศาคณาญาติของภูมิปัญญาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะฯ. (2545). สะหวันนะเขต สาละวัน เซกอง จำปาสักและอัตตะปือ: ห้าแขวงลาวตอนล่าง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. มปท.

สังคม สีวิไล. (2559). ภูมิปัญญาพื้นบ้านเครื่องมือดักสัตว์ เมืองปากงื่ม นครหลวงเวียงจันทน์ ส. ป. ป. ลาว. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม 2559, 98-121.

สมเกียรติ อุ่นท้าว. (2549). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชน. ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สังคมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. มปท.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

Choi, S.H. and Cheung, H.H. (2007). Multi-Material Virtual Prototyping for Product Development and Biomedical Engineering. [n.p.]

Gurung, O.P. (1997). Customary Systems of Natural Resource Management. Nepal: [n.p.].

คำสี วงสาคร (ผู้ให้สัมภาษณ์).กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 19 มิถุนายน 2556.

เต๊ะ (ผู้ให้สัมภาษณ์).กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 19 มิถุนายน 2556.

แดง สุวันนะสาน (ผู้ให้สัมภาษณ์).กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 27 กรกฎาคม 2559.

บัน อินตะรังสี (ผู้ให้สัมภาษณ์).กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 27 กรกฎาคม 2559.

วี (ผู้ให้สัมภาษณ์) กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 19 มิถุนายน 2556.

วัน อินตะรังสี (ผู้ให้สัมภาษณ์).กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 27 กรกฎาคม 2559.

เพ้า สมพะเดด (ผู้ให้สัมภาษณ์).กังสดาล จงคา(ผู้สัมภาษณ์), 19 มิถุนายน 2556.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)