การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

พิสมร ผงศรีอัก, ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า, ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข

ผู้แต่ง

  • พิสมร ผงศรีอัก
  • พรเทพ เสถียรนพเก้า
  • อภิสิทธิ์ สมศรีสุข

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ทักษะการคิดวิเคราะห์, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและ
ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 355 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.26 – 0.89 และมีค่าความเชื่อ เท่ากับ0.981 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรลผลการวิจัยพบว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อยและ 87 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นองค์ประกอบหลักด้านการวิเคราะห์เนื้อหามีตัวบ่งชี้จำนวน34 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีตัวบ่งชี้จำนวน 32 ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบหลักด้านการวิเคราะห์หลักการ มีตัวบ่งชี้จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ ส่วนในด้านโมเดลโครงสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 16.62 ค่าองศาอิสระเท่ากับ 21 ค่านัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.73389 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ 0.97 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ เท่ากับ 0.000 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 87 ตัวบ่งชี้ มีค่าระหว่าง 0.06 – 0.96

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรรณิการ์ กวางคีรี. (2554). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปกร.

เถวียน ดงเรืองศรี. (2553). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นงลักษณ์วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์ส?าหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง.

บุณยาพร สารมะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระพีพร ชูเสน. (2553). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องร่างกายของเรา สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2. (2559). การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ประจำปีการศึกษา 2558. กลุ่มงานวัดผลและประเมินผลการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พุทธศักราช 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติส?านักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิกจำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2557). การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 4.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://https://www.rtafaqa.org. (20 เมษายน2559).

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2560). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และท?าอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)