พัฒนาการเครื่องประดับอีสาน

เยาวลักษณ์ เชื้อทอง

ผู้แต่ง

  • เยาวลักษณ์ เชื้อทอง

คำสำคัญ:

อีสาน, เครื่องประดับ, เงิน, อัญมณี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องพัฒนาการเครื่องประดับอีสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการเครื่องประดับอีสาน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือประเภทแบบสำรวจแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยมีพื้นที่วิจัยจำนวน 4 แห่งประกอบด้วยบ้านเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ บ้านหนองคู อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และบ้านหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการเครื่องประดับอีสานเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในด้านรูปแบบพบว่ามีรูปแบบและลวดลายที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวและรูปทรงจากวัฒนธรรม ด้านสุนทรียภาพพบว่าเครื่องประดับแบบดั้งเดิมมีลักษณะความเป็นหน่วยเดียวกันและมีความสมดุลจนกระทั่งมีการพัฒนาโดยตัดทอนรูปทรงและรายละเอียดลวดลายให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น ด้านวัสดุพบว่าเครื่องประดับแบบดั้งเดิมจะใช้วัสดุที่มีราคาประเภททอง เงิน พลอยเนื้ออ่อน ส่วนเครื่องประดับ ปัจจุบันทำมาจากเงิน ทองเหลือง พลอยแท้ พลอยสังเคราะห์และพลอยพระยานาคด้านกระบวนการผลิตยังคงรูปแบบดั้งเดิมทั้งการหลอม การตีขึ้นรูป รีด ดัด เชื่อม สลักดุน ถมดำ ขัดเงาและวิธีการขี้ผึ้งหาย ด้านคติความเชื่อแบบดั้งเดิมเชื่อเรื่องโชคลางของขลังส่วนปัจจุบันมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีสอดคล้องกับความเชื่อของอัญมณีแต่ละชนิดและด้านประโยชน์ใช้สอยพบว่าเครื่องประดับแบบดั้งเดิมแสดงฐานะทางสังคมเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมส่วนปัจจุบันเพื่อประโยชน์ด้านความสวยงาม

References

กรมศิลปากร. (2534). บ้านปราสาท แหล่งโบราณคดีอีสานล่าง. กรุงเทพมหานคร: กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมศิลปากร. (2548). สำริดโลหะที่เปลี่ยนโลก. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นแอนด์ พับลิชชิ่ง.

กอบกุล ชำนาญหมอ. (2537). การประกอบอาชีพทำเครื่องเงิน “ประเกือม” ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา ]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

กุลธิดา พิพัฒน์จรัสสกุล. (2535). การฝังศพที่พบเครื่องประดับร่วมกับโครงกระดูกจากแหล่งโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

จิราภรณ์ วุฒิพันธุ์. (2535). เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของการฟ้อนผู้ไทยว่านอกจากภาษาพูดวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อและการฟ้อนที่เป็นคันโช้ง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ก่อนและหลังการก่อสร้างเขื่อนแควน้อย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2542). รายงานการวิจัยเรื่อง เศรษฐกิจสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญของไทย 5 รายการกรณีศึกษา : อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลักษณ์ อาจมาก. (2546). เทคนิคและการออกแบบลวดลายบนเครื่องเงินของหมู่บ้านวัวลายอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2544). การศึกษารูปแบบเครื่องประดับอัญมณีเพื่อพัฒนาตสาหกรรมการส่งออก. [ม.ป.ท.]: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยาโครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิภาษา.

ณัฏฐา ชื่นวัฒนา. (2550). กระดึงและกระพรวนสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย : การผลิตรูปแบบ และการกระจายตัว มุมมองจากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนกฤต ใจสุดา. (2556). การออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับเงินร่วมสมัยจากอัตลักษณ์ชาวเขวเผ่าเมี่ยน เพื่อเพิ่มมูลค่า : กรณีศึกษา บ้านป่ากลาง อำเภอปัวจังหวัดน่าน.[ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ].กรุงเทพมหานครฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บวรเดช ประหนุ. (2558). เครื่องประดบัของชาวอีสานใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บัณฑิตหญิง ปัญญาโน. (2554). การพัฒนาเครื่องประดับร่วมสมัย : กรณีศึกษาลูกประเกือมที่จังหวัด. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.; ม.ป.ป.].

ปริศนา บุญศักดิ์. (2555). การศึกษาการออกแบบเครื่องประดับด้วยเทคนิคการปั้มขึ้นรูปโดยใช้วัสดุแผ่นดินกระดาษเซรามิก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.

มัย ตะติยะ. (2547). สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร: วาดศิลป์. วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2542). อัญมณีไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วรรณรัตน์ อินทร์อํ่าา. (2536). ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วรวิทย์ สินธุระหัส. (2555). รูปแบบลวดลายเครื่องประดับทองคำจากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร นามการ. (2555). การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน.[ม.ป.ท.:ม.ป.พ.].

ศุภชัย พานิชสมบัติ. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าประเภทเครื่องประดับแร่เงินของร้านค้าในเขตกรุงเทพมหานคร.[รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2546). ทัศนศิลป์ปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร; 2546.

สุริยา โชคสวัสดิ์ และคณะ. (2551). หัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว มรดกทางศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาโบราณ.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลยัอุบลราชธานี.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพินท์ พานทอง และคณะ. (2544). ความเป็นไทยเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ.[ม.ป.ท.]: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุดม บัวศรี. (2540). วัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)