การมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผุสดี กิจบุญ

ผู้แต่ง

  • ผุสดี กิจบุญ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการแหล่งน้ำ, มหาสารคาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและค้นหาข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม โดยทำการสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนอายุ 18 – 60 ปีในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุม จำนวน 354 คน โดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลวาปีปทุมมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งน้ำในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ เทศบาลตำบลวาปีปทุมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และประเมินผลเนื่องจากปัจจุบันมีเพียงผู้แทนชุมชนเท่านั้นที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว และควรเปิดโอกาสให้เยาวชนที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเทศบาล

References

ฉัตรพงษ์ สุขเกื้อ และคณะ. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 41 หน้า.

เทศบาลตำบลวาปีปทุม. (2560). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2561. มหาสารคาม : เทศบาลตำบลวาปีปทุม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ ประคองศรี . (2551). โครงการจัดทำโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยระยะยาว เรื่อง การบริหารจัดการน้ำ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2555). รายงานการรวบรวม ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำและแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำมูล. กรุงเทพฯ : สถาบันสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การ มหาชน).

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น). (2560). คุณภาพน้ำแหล่งผิวดิน ครั้งที่ 4 – 2560. ขอนแก่น : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น).

Sribaueiam, K. (2002). Guidelines for strengthening participatory democracy based on theConstitution of Thailand BE 2540: Problems obstacle and solutions. Bangkok : Prajadhipok’s Institute.

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York:Harper&row.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)