แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูพิธีถวายข้าวพีชภาคและบุญเสียค่าหัว : กรณีศึกษาชุมชนข้าโอกาส บ้านหลักศิลา ต.พระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

ผู้แต่ง

  • อภิรดี แข้โส คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ข้าโอกาส, ถวายพีชภาค, บุญเสียค่าหัว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนข้าโอกาส 2) เพื่อศึกษาสถานภาพพิธีถวายข้าวพีชภาคและบุญเสียค่าหัวในปัจจุบัน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษา ชุมชนข้าโอกาสบ้านหลักศิลา ต.พระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

ผลการศึกษาพบว่า 1.ชุมชนข้าโอกาสบ้านหลักศิลามีความเป็นมาจากการย้ายถิ่นฐานของบรรพบุรุษข้าโอกาสพระธาตุพนมมาตั้งบ้านหลักศิลา ปัจจุบันยังคงปฏิบัติและยึดถือฮีตคองข้าโอกาส และถ่ายทอดให้กับลูกหลานข้าโอกาสต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 2. สถานภาพพิธีถวายข้าวพีชภาคและบุญเสียค่าหัวที่เปลี่ยนแปลง คือ การเสียค่าหัวในจำนวนที่มากขึ้น ตามฐานะทางเศรษฐกิจ และตามโอกาสที่สะดวก เกิดคติความเชื่อแบบใหม่ๆต่อองค์พระธาตุพนม เช่น ความเชื่อ ลูกพระธาตุ เกิดจากการมาบนบานขอลูกของคนที่มีลูกยาก และคนที่มาเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุต่อเนื่อง เป็นเวลา 7 ปี มีความเชื่อเรื่องพญานาค  3. แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู คือ การค้นคว้าวิจัย การปลูกจิตสำนึก สร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอด สร้างเครือข่าย เสริมสร้างศักยภาพปราชญ์ท้องถิ่น และการร่วมมือกันทุกภาคส่วน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง มหาวิทยาลัยนครพนม วัด โรงเรียน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น เยาวชน ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม

 

 

References

ทศพล อาจหาญ. (2542). ข้าโอกาสพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. มหาสารคาม :
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธวัช ปุณโณทก. (2530). จารึกสมัยไทย-ลาว. กรุงเทพฯ : อักษรกิจ.
ปรีดา พูลสิน. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชน
วัดโสมนัส. วารสารวิจัยและพัฒนา. 4(1), 60-66.
ปวีณา งามประภาสม. (2557). แนวทางการฟื้นฟูประเพณีตานตอด, วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัย.
และพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 6 (11), 100-107.
พระเทพรัตนโมลี. ประวัติย่อพระธาตุพนม. กรุงเทพฯ : เทพรัตน์การพิมพ์, 2537.
พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา). (2551) อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร). พิมพ์ครั้งที่ 11
กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์.
พิเชฐ สายพันธ์. (2542) “ผีเจ้าเฮือน 3 พระองค์ : พิธีกรรมสืบทอดกลุ่มข้าโอกาสธาตุพนม”. ใน จุลสารไทย
คดีศึกษา. 15 (2), 42-48.
มยุรี ถาวรพัฒน์ (2557). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
เลอเวอะ (ละว้า) บ้านป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน. วารสารกระแสวัฒนธรรม.15(28), 59-66.
มาลินี กลางประพันธ์.(2554). เครือข่ายทางสังคมข้าโอกาสพระธาตุพนในชุมชนสองฝั่งโขง. มหาสารคาม :
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรชัย ชินบุตร. (2556). สัญลักษณ์ข้าโอกาสพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในพิธีถวายข้าวพีชภาคและเสีย
ค่าหัว. ใน วารสารไทยศึกษา. 9(2),161-189.
สุธิดา ตันเลิศ.(2558).ข้าโอกาสพระธาตุพนมสองฝั่งโขงกับการปรับมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์.
วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 34(1), 29-60.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่12.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัมภาษณ์บุคคล
จันทร์ สุโข. (2560, มิถุนายน 4). 17หมู่ 10 ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.
ณรงค์ ชินวร. (2560, มิถุนายน 4). 105 หมู่ 10 ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.
สัมภาษณ์.
เด่นชัย ไตรยะถา. (2560, กรกฎาคม 5). ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.
พระอธิการสัญญา ชิตมาโร. (2560, มิถุนายน 25). เจ้าอาวาสวัดมรุกขาราม ตำบลพระกลางทุ่ง
อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.
พินิจ ประเคนคะชา. (2560, มิถุนายน 25). รองนายกเทศมนตรีตำบลธาตุพนม ตำบลธาตุพนม
อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.
วันทนารี สุวรรณกลาง (2560, มิถุนายน 25).รองคณบดีวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
ตำบลธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.
สุพจน์ ผิวดำ (ผู้ให้สัมภาษณ์). (2560, กรกฎาคม 9). ปลัดอำเภอธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.
สัมภาษณ์.
อร่ามจิต ชิณช่าง(2560, กรกฎาคม 5).ผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)