ดนตรีประกอบพิธีลงข่วง บ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

วุฒิสิทธิ์ จีระกมล,ปฏัก สินทร

ผู้แต่ง

  • วุฒิสิทธิ์ จีระกมล
  • ปฏัก สินทร

คำสำคัญ:

ผีฟ้า, หมอลำ, พิธีกรรมอีสาน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องดนตรีประกอบพิธีลงข่วงบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาขั้นตอนพิธีลงข่วงบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ และ ศึกษาดนตรีประกอบพิธีลงข่วงบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิโดยการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และ บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับพิธีลงข่วงบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่กำหนดและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า ในด้านพิธีลงข่วงเป็นการมาชุมนุมกันของเหล่าบริวารผีฟ้า หรือ ลูกศิษย์ ซึ่งจัด ในช่วงเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ำ โดยแบ่งออกเป็น 3 วัน วันแรก เรียกว่ามื้อห่อข้าวต้ม หรือ เรียกอีกอย่างว่าวันจัดเตรียมงาน ก็จะมีการเตรียมสถานที่เพื่อใช้ในการลงข่วง วันที่สอง เป็นวันในการจัดงานพิธีลงข่วง จะเริ่มพิธีตั้งแต่เช้า ขั้นตอนในการเริ่มพิธีจะเริ่มจากการวางคำหมาก และ เครื่องคายสำหรับใช้ในการทำพิธี ลำไหว้ครูอัญเชิญดวงวิญญาณของพ่อศรีสะเหลา  การไถ่ถามถึงลูกศิษย์ และ รับเครื่องสมมาจากลูกศิษย์  หลังจากนั้นก็จะทำการฟ้อนรำเพื่อทำการเปิดข่วง มีการพักเป็นช่วงๆ ไปจนถึงตอนกลางคืน วันที่สาม จะเริ่มตั้งแต่เช้ามืด จะเป็นพิธีหงายพาข้าว ในการหงายพาข้าวนี้จะมีเฉพาะบริวารผู้ติดตามของผีฟ้า และ คนทรงอารักษ์บ้าน ก็เป็นการเสร็จพิธีกรรมลงข่วง

2. ในด้านดนตรีประกอบพิธีลงข่วงบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เครื่องดนตรีในการลงข่วง คือ แคนแปด ระบบเสียง ของแคนแปดมีเสียงทั้งหมด 16 เสียง คือ ลา (A)  ที (B)  โด (C)  เร (D)   มี (E)  ฟา (F)  ซอล (G)  ซอล (G)  ลา (A)  ที (B)  โด (C) เร (D) มี (E) ฟา (F)  ซอล (G) และ ลา (A)  มีเสียงซ้ำกัน คือ เสียง G (ซอล)  ลายแคนในพิธีลงข่วงมี 3 ลาย ได้แก่ ลายลง  ใช้ก่อนที่จะมีการตั้งคาย เป็นการเป่าแคนคลอไปกับเสียงร้องของหมอลำผีฟ้า ก่อนจะเริ่มการเข้าทรง ลายลำ เป็นลายที่ผีฟ้าเข้าทรงแล้ว มีการลำ กับ เหล่าบริวาร หรือ ผู้ที่เข้ามาร่วมงาน ลายนกแซวบินเซิน เป็นลายที่ผีฟ้าใช้ในการฟ้อนรำ เหล่าบริวารทุกคนลุกขึ้นฟ้อนรำรอบข่วง ทั้ง 3 ลาย อยู่ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ (Am)  ลายลง และ ลายลำ อยู่ในจังหวะช้า ยกเว้นลายนกแซวบินเซินอยู่ในเป็นจังหวะเร็ว  ในเพลงจะมีเสียง ลา (A) เป็นเสียงคลอประสานกับทำนองหลัก เรียกว่า เสียงโดรน (Done) คีตลักษณ์ ของบทเพลงนี้มีลักษณะทำนองสั้นๆ ทำนองเดียว บรรเลงซ้ำๆ มีความแตกต่างกันในบางช่วง กลอนลำที่ใช้มีลักษณะ การลำสลับกับการพูด คำกลอนมีทั้งที่สัมผัสสระ และ ไม่สัมผัสสระ ไม่เน้นความไพเราะ แต่เน้นเนื้อหา จังหวะในการร้องไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการลำของผีฟ้า

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2551) การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุพร ศิริสัมพันธ์. (2553). เพลงพื้นบ้าน. ใน สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ ฉบับส่งเสริมการเรียนรู้. เล่มที่ 15. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
จินดา แก่นสมบัติ. (2553). การศึกษาพิธีกรรมไหว้ครูหมอลำกลอน บ้านสระแคน ตำบลราษฎร์พัฒนา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เจนจิรา เบญจพงศ์. (2555) ดนตรีอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
เจริญชัย ชนไพโรจน์ (2558) หมอลำหมอแคน : ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เปรียบดั่งแก้วสารพัดนึกของชาวอีสาน. จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานมหกรรมหมอลำ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ณ ปะรำพิธี หน้าที่ว่าการอำเภอ จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 25-26 มิถุนายน 2558
ชัยยันต์ เพาพาน. (2533). การลำผีฟ้าในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ มหาสารคาม
บุษกร บิณฑสันต์ และ ขำคม พรประสิทธิ์. (2553) หมอลำ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพืแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญเลิศ จันทร (2531) แคน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์
ปัญญา รุ่งเรือง. (2546) หลักวิชามานุษยดุริยางควิทยา. เอกสารการสอน รายวิชา 393571 สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยะพันธ์ แสนทวีสุข. (2549) ดนตรีพื้นบ้านอีสาน คีตกวีอีสาน ตำนานเครื่องดนตรี และ การเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2552) การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม แนวคิด วิธีวิทยา และทฤษฎี. ขอนแก่ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุลักษณ์ อาสาสู้. (2553). ดนตรีในพิธีกรรมรำผีฟ้า: กรณีศึกษาคณะหมอลาผีฟ้าบ้านหนองคอนไทย ตำบลกุดตุ้ม อำเภอ เมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)