การส่งบทความ

วารสารนี้ยังไม่เปิดรับบทความ ในช่วงเวลานี้

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ต้นฉบับบทความที่ส่งมานี้ ไม่เคยผ่านการตีพิมพ์มาก่อน หรือกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารฉบับอื่นๆ และต้องไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านมาของผู้เขียน
  • ผู้เขียนได้จัดเตรียมบทความในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word Document (.doc / .docx), Rich Text Format (.rtf) หรือ OpenOffice text document (.odt)
  • ต้นฉบับต้องระบุชื่อบทความ ชื่อ-สกุล ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันที่ผู้เขียนสังกัด (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ) และอีเมลติดต่อผู้เขียน สำหรับตีพิมพ์เผยแพร่พร้อมบทความ
  • ต้นฉบับมีความยาวรวมตารางหรือแผนภาพ เชิงอรรถ รายการอ้างอิง และภาคผนวก ไม่เกิน 20 หน้า A4 ระยะขอบด้านละ 1 นิ้ว พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 16 pt. ระยะบรรทัด 1.2 บรรทัด (ภาษาไทย) หรีอไม่เกิน 10,000 คำ (ภาษาอังกฤษ) *ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อคำแนะนำสำหรับผู้เขียน*
  • ต้นฉบับบทความมีบทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ (ความยาวไม่เกิน 150 คำ) และรายการคำสำคัญที่สะท้อนประเด็นนำเสนอของบทความ
  • ผู้เขียนได้จัดเตรียมต้นฉบับตามแนวทางของวารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ "คำแนะนำผู้แต่ง"

คำแนะนำผู้แต่ง

วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา เปิดรับพิจารณาบทความทางวิชาการ บทความวิจัย บทความจากวิทยานิพนธ์ และบทปริทัศน์หรือบทวิจารณ์หนังสือ จากนักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โดยจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยผ่านการตีพิมพ์มาก่อน หรือกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารฉบับอื่นๆ และต้องไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านมาของผู้เขียน

ต้นฉบับบทความจะผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากคณะบรรณาธิการ ก่อนเข้าสู่กระบวนการอ่านประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) และจะได้รับการตีพิมพ์เมื่อผลการพิจารณาจากกระบวนการอ่านประเมินเห็นควรให้ตีพิมพ์ได้ พร้อมทั้งได้รับการปรับแก้ตามกระบวนการที่คณะบรรณาธิการและผู้เขียนเห็นชอบร่วมกัน

แนวทางในการจัดเตรียมต้นฉบับ
(ฉบับปรับปรุง เริ่มใช้งานสำหรับการจัดพิมพ์ วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561) 

บทความ

- ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์เอกสาร เช่น Microsoft Word Document (.doc / docx) Rich Text Format (.rtf) หรือ OpenOffice text document (.odt) 

- ต้นฉบับบทความต้องระบุชื่อบทความ ชื่อ-สกุล ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันที่ผู้เขียนสังกัด (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ) และอีเมลติดต่อผู้เขียน สำหรับตีพิมพ์เผยแพร่พร้อมบทความ

- ต้นฉบับควรมีความยาวรวมบทคัดย่อ เชิงอรรถ รายการอ้างอิง และภาคผนวก ดังนี้: ภาษาไทย ไม่เกิน 20 หน้า A4 ระยะขอบด้านละ 1 นิ้ว พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 16 pt ระยะบรรทัด 1.2 บรรทัด ภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10,000 คำ หรือไม่เกิน 35 หน้า ตามขนาดรูปเล่มของ วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 

ต้นฉบับบทความที่มีความยาวเกินกว่าเกณฑ์ข้างต้น จะได้รับการตีพิมพ์เฉพาะในกรณีที่บรรณาธิการบริหารและบรรณาธิการประจำฉบับเห็นชอบร่วมกันให้สมควรตีพิมพ์ได้

- ต้นฉบับบทความภาษาอังกฤษ ในกรณีผู้เขียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก (native language) จะต้องผ่านกระบวนการบรรณาธิกรต้นฉบับภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ได้ต้นฉบับที่มีมาตรฐานเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ในภาษาอังกฤษ

- ในกรณีที่ผู้เขียนใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการรายการอ้างอิง (เช่น EndNote หรือ Zotero) ขอให้แยกส่งไฟล์เอกสารของรายการอ้างอิงท้ายบทความมาพร้อมกับไฟล์ต้นฉบับบทความฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้ ขอให้ผู้เขียนส่งออกข้อมูลรายการอ้างอิงท้ายบทความตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนด โดยตัดการเชื่อมโยงอัตโนมัติกับฐานข้อมูลรายการอ้างอิงเพื่อความสะดวกในกระบวนการบรรณาธิกร

บทคัดย่อ

- ต้นฉบับต้องมีบทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 150 คำ พร้อมระบุคำสำคัญ (keywords) ที่สะท้อนประเด็นนำเสนอของบทความ

ตารางและภาพประกอบ

- ต้นฉบับที่มีตารางประกอบ ต้องระบุชื่อตาราง คำอธิบาย และที่มาของตารางให้ครบถ้วน

- ภาพประกอบต้องเป็นภาพที่เป็นผลงานของผู้เขียนเอง หรือผู้เขียนได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ตีพิมพ์ได้ โดยขอให้ผู้เขียนส่งไฟล์ภาพ (เช่น .jpg หรือ .png) แยกจากไฟล์เนื้อหาบทความ ขนาดภาพประมาณ 5x7 นิ้ว ความละเอียดอย่างน้อย 150 pixels/inch เพื่อความชัดเจนในการจัดพิมพ์

การอ้างอิง

ผู้เขียนต้องจัดทำรายการอ้างอิงที่ถูกต้องและสมบูรณ์ โดยแบ่งหมวดในรายการอ้างอิงท้ายบทความ เป็น 4 หมวด ได้แก่ เอกสารภาษาไทย เอกสารภาษาอังกฤษ เอกสารภาษาต่างประเทศ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ) เอกสารออนไลน์และสื่อโสตทัศน์ และใช้รูปแบบการอ้างอิงตามเกณฑ์ในคู่มือ The hicago anual f tyle แบบนาม-ปี
(author-date) ประกอบกับแนวทางที่ วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ได้กำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย

ในกรณีที่ผู้เขียนใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการรายการอ้างอิง ขอให้ตรวจทานการกรอกข้อมูลในฐานข้อมูลและรูปแบบการอ้างอิงของเอกสารแต่ละประเภท ให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับเกณฑ์ในคู่มือ The Chicago Manual of Style รวมทั้งแนวทางของวารสารฯ ดังตัวอย่างในลิงก์นี้

แนวทางเพิ่มเติมสำหรับการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย

- การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ระบุทั้งชื่อและนามสกุลของผู้เขียน เช่น (ธีระ สินเดชารักษ์ 2558) หรือ (ธีระ สินเดชารักษ์ 2558, 18-20) ในกรณีที่มีการระบุเลขหน้า

- ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นระหว่างชื่อผู้เขียน เฉพาะกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่าสองคนขึ้นไป ในกรณีเอกสารที่มีผู้เขียนสองคน ให้ใช้ “และ” เชื่อมระหว่างชื่อผู้เขียน โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่น เช่น (สุมิตร ปิติพัฒน์ และ เสมอชัย พูลสุวรรณ 2546) 

- การอ้างอิงผลงานของผู้เขียนชาวไทยที่ตีพิมพ์ในภาษาอังกฤษ ให้ระบุเฉพาะนามสกุลของผู้เขียนเมื่อทำการอ้างอิงในเนื้อหา เช่น (Pananakhonsab 2016) และให้อ้างอิงโดยขึ้นต้นด้วยนามสกุลเช่นเดียวกับการอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษอื่นๆ ในรายการอ้างอิงท้ายบทความ

ข้อควรจำในการอ้างอิงตามเกณฑ์ของคู่มือ The Chicago Manual of Style

- การระบุชื่อต้นของผู้เขียน / บรรณาธิการ / ผู้แปล ของเอกสารภาษาอังกฤษในรายการอ้างอิงท้ายบทความ ให้ระบุเป็นชื่อเต็ม ยกเว้นกรณีที่ผู้เขียนใช้ชื่อย่อเป็นชื่อทางการสำหรับการตีพิมพ์ผลงาน เช่น T. S. Eliot หรือ E. P. Thompson เป็นต้น

- กรณีเอกสารมีชื่อรอง (subtitle) ให้ระบุชื่อรองของเอกสารนั้นๆ ให้ครบถ้วน เช่น เกิดมาหนึ่งชาติ ต้องกราบพระธาตุเมืองนคร: คนใต้ ศีลธรรม และการเมือง ไม่ใช่ เกิดมาหนึ่งชาติ ต้องกราบพระธาตุเมืองนคร หรือ Distinction: A social critique of the judgement of taste ไม่ใช่ Distinction เท่านั้น

การอ้างอิงเอกสารออนไลน์ ให้ระบุลิงก์ที่อยู่ของเอกสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (URL) หรือรหัสทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล (digital object identifier: DOI) พร้อมทั้งระบุวัน เดือน ปี ที่สืบค้นเอกสารไว้ในตำแหน่งหน้า URL หรือหมายเลข DOI

- การระบุวันที่เผยแพร่หรือวันที่สืบค้น สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ใช้รูปแบบตามเกณฑ์ของคู่มือ The Chicago Manual of Style เช่น Accessed May 22, 2014 

- ในการอ้างอิงที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเล็บซ้อนภายในวงเล็บ ให้ใช้วงเล็บเหลี่ยม [...]สำหรับข้อความวงเล็บด้านใน เช่น (Mauss [1925] 2016)

ผู้เขียนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการอ้างอิงท้ายบทความได้จากคู่มือ The Chicago Manual of Style (full access เมื่อเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และแนวทางเพิ่มเติมสำหรับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยได้จากตัวอย่างในลิงก์นี้

นโยบายส่วนบุคคล

วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ไม่มีนโยบายนำชื่อและอีเมลของผู้เขียนไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากเป็นข้อมูลสำหรับกระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ เท่านั้น