การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่น: กรณีศึกษา เรือนไทเขินเชียงตุง รัฐฉาน เมียนมา

ผู้แต่ง

  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยน, รูปลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่น, ไทเขิน, เชียงตุง, transformation, vernacular house appearance, Tai-Kern, Keng-Tung

บทคัดย่อ

         การศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่น โดยใช้กรณีศึกษาไทเขิน เชียงตุง เมียนมา เพื่อหาคำตอบถึงลักษณะการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่นและปัจจัยในการปรับเปลี่ยนที่เป็นเอกภาพกับบริบทและวิถีชีวิตโดยอาศัยเครื่องมือช่วยให้การศึกษา และวิเคราะห์จากการปฏิบัติงานภาคสนามในหมู่บบ้าน 4 แห่ง ในเชียงตุง ประกอบด้วยบ้านเหม้า อำเภอยางลอ บ้านหนองอ้อ อำเภอเชียงตุง บ้านล่าว และบ้านเด่นช้าง อำเภอกาดฟ้า เครื่องมือหลักที่ช่วยในการวิเคราะห ์ คือ ผังกายภาพของหมู่บ้านตามอายุการสร้าง 3 กลุ่ม อายุการสร้างเรือน ผังบริเวณเรือน ผังพื้น รูปลักษณ์ของเรือน และวัสดุก่อสร้าง จากการวิเคราะห์ได้พบว่า ปัจจัยในการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของเรือนไทเขินเชียงตุง เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน อันประกอบด้วยรูปลักษณ์ของผังกายภาพของหมู่บ้าน การปรับเปลี่ยนตำแหน่งของแม่เตาไฟ ฮ้องไฟ หรือเฮือนไฟ ตามพัฒนาการของการอยู่อาศัย การปรับเปลี่ยนวัสดุผนังของฮ้องไฟตามการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่สัมพันธ์กับเรือนหลัก และท้ายสุด คือ แนวโน้มการปรับเปลี่ยนวัสดุผนังเรือนจากไม้เป็นอิฐ พร้อมๆ กับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประสานระบบโครงสร้างไม้กับระบบผนังรับนํ้าหนักอันเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาการผสานโครงสร้างเดิมและใหม่เข้าด้วยกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-24

How to Cite

ปาณินท์ อ. (2018). การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่น: กรณีศึกษา เรือนไทเขินเชียงตุง รัฐฉาน เมียนมา. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 33, C21-C38. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/141951

ฉบับ

บท

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment