ปูนในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลก

ผู้แต่ง

  • นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

มรดกโลก, ปูนโบราณ, ปูนอยุธยา, การอนุรักษ์ปูนในโบราณสถาน, คุณสมบัติของปูน, World Heritage, Historic mortar and plaster, Ayutthaya lime, Mortar and plaster conservation, Lime properties

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติของปูนสอและปูนฉาบที่พบในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลก เปรียบเทียบกับปูนสมัยใหม่ที่กรมศิลปากรกำหนดให้ใช้ในการบูรณะโบราณสถานของนครแห่งนี้ภายหลังมหาอุทกภัย พ.ศ.2554 และปูนที่เคยใช้ในการอนุรักษ์ที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปคุณสมบัติของปูนโบราณและปูนในปัจจุบัน และนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของปูนที่ควรใช้ในการอนุรักษ์โบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาต่อไป

         ผลการศึกษาแสดงว่า ปูนสอและปูนฉาบในโบราณสถานของอยุธยาประกอบไปด้วยปูนขาวและทรายเป็นหลัก แต่อัตราส่วนระหว่างปูนขาวต่อทราย รวมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพและทางเชิงกลอื่นๆ มีความแตกต่างกันไปในโบราณสถานแต่ละแหล่ง และไม่สามารถแบ่งเป็นยุคสมัยได้เหมือนกับการแบ่งยุคทางศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรม ดังนั้นจึงไม่สามารถกำหนดคุณสมบัติของปูนสอและปูนฉาบที่เหมาะสมให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้อนุรักษ์ปูนในโบราณสถานของอยุธยาได้ทุกยุคหรือทุกแหล่ง แต่ต้องศึกษาคุณสมบัติของอิฐและปูนโบราณในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาทีละแหล่งแล้วจึงนำมากำหนดคุณสมบัติของปูนสอและปูนฉาบที่เหมาะสมในการอนุรักษ์โบราณสถานแหล่งนั้นๆ ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-16

How to Cite

วัสสันตชาติ น. (2018). ปูนในโบราณสถานของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลก. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 33, B43-B92. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/150790

ฉบับ

บท

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation