การอ่านความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางของไทยผ่านการศึกษาผังเรือนพักอาศัย
คำสำคัญ:
การอ่าน, ความแปรเปลี่ยน, ผังพื้นเรือน, กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว, พื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางของไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งที่จะเสนอความแปรเปลี่ยนของวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวหลายกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มแม่นํ้าภาคกลางของไทยมากกว่า 2 ศตวรรษ ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบผังพื้นเรือน ซึ่งสะท้อนลักษณะการอยู่ทั้งในแง่ของรูปธรรมและนามธรรม พร้อมกับการศึกษาย้อนหลังไปถึงความสัมพันธ์และอิทธิพลของเรือนในแหล่งที่ตั้งดั้งเดิมในพื้นที่ต้นกำเนิด
การศึกษานี้ใช้กระบวนการศึกษาเปรียบเทียบผังพื้นเรือนไท-ลาว 4 กลุ่ม จากการสำรวจภาคสนาม ได้แก่ กลุ่มพวน ซึ่งมีแหล่งต้นกำเนิดในแขวงเชียงขวาง ลาวครั่ง (ลาวภูคัง) ซึ่งมีแหล่งต้นกำเนิดในเขตหลวงพระบางและเวียงจันทน์ กลุ่มลาวเวียง และลาวแง้ว ซึ่งมีแหล่งต้นกำเนิดในเมืองเวียงจันทน์และชนบทโดยรอบ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกลุ่มสุดท้าย คือ ลาวโซ่ง (ไทดำ) ซึ่งมีแหล่งต้นกำเนิดในจังหวัดเดียนเบียน และเซินลา ประเทศเวียดนาม
จากการศึกษาได้พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวทุกกลุ่มยังมีวิถีชีวิตต่อเนื่อง อาชีพหลักทำนา อาชีพรองต่างๆ กัน ตามทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ ทุกกลุ่มมีรูปลักษณ์ของผังพื้นเรือนในระบบเดียวกัน คือ มีโถงกลางอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ ปิดล้อม 1-3 ด้านด้วยพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่นอน และครัว โถงกลางของเรือนมีขนาดใหญ่ เนื่องจากการคงอยู่ของพิธีกรรมและความเชื่อ อิทธิพลของผังพื้นเรือนจากแหล่งต้นกำเนิดปรากฏเด่นชัดยิ่งในกลุ่มเรือนลาวเวียง ลาวแง้ว ที่เห็นภาพเรือนเวียงจันทน์อย่างชัดเจน กลุ่มลาวครั่งปรากฏภาพเลือนลางของเรือนเวียงจันทน์ กลุ่มพวนและลาวโซ่ง (ไทดำ) ไม่ปรากฏอิทธิพลผังพื้นของถิ่นต้นกำเนิด แต่แสดงการคงอยู่ของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมอย่างเด่นชัดและเข้มข้น แต่ท่วงทีของผังพื้นซึ่งเป็นห้องล้อมโถงกลางคล้ายคลึงกับการครอบงำของผังพื้นที่เรือนไทยประเพณีแบบเรือนล้อมชาน แต่ปรับเปลี่ยนเป็นเรือนล้อมโถงกลางภายใต้ร่มเงาของรูปทรงเรือนไทยประเพณีแบบจั่วแฝด เห็นได้ชัดว่าสัมภาระทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษหอบหิ้วมาจากถิ่นต้นกำเนิดแปรเปลี่ยนเป็นอนุวัฒนธรรมในพื้นที่ประเทศไทยซึ่งสามารถผสมกลมกลืนกันได้อย่างนุ่มนวลและอบอุ่น
References
- Angsuvej, Chatupon. (2012). Kao nok oak nai RueanTai-Lao. (In Thai). [Inside and Outside Ruean Tai-Lao]. Bangkok: Usakane.
- Clement, Charpentier, Sophie and Clement Pierre. (2003). Ruean Lao nai ket Vieng Chan Lae Luang Prabang. (In Thai). [Lao Houses in Vientaine and Luang Prabang]. Kanyala Kittiyasak and other: Translate in Lao. Kirdsiri, Krengkrai: Translate in Thai. Bangkok: Usakane.
- Inpuntung, Vira. (2012). Ruean lao Song: karnklai roob nai song tosawad. (In Thai). [Lao Song Houses: the Transition of form in Two decades]. Bangkok : Usakane.
- Kirdsiri, Kriengkrai. (2010). Poom lang karn tang tin tan Klum Chattipan Tai-Lao Lae Karn khuen yai kao su pratet Thai. (In Thai). [Historical Background of Tai-Lao Settlement and movement to Thailand]. First year research report. Bangkok: 21 Century (42-98)
- Nartsupa, Chattip. (2010). Settakit moo ban Thai nai adeet. (In Thai). [Thai community Economic in The Past]. 6th edition. Bangkok: Sangsan.
- Panin, Ornsiri and Chantavira, Noppadon. (2012). Ban Lae ruean Phuan Chiang Kwang: karn klab ma tang tin tan mai nai peun tee derm. (In thai). [Phuan Chiang Kwang houses and villages: the resettlement in the old area]. Bangkok: Usakane.
- Panin, Ornsiri. (2012). Ban Lae ruean Phuan Bangplama: jark Chiang Kwang su lum nam park klang kong tai. (in Thai). [Phuan Villages and Houses in Bangplama: From Chiang Kwang to the Central Region Basin of Thailand]. Bangkok: Usakane.
- Pinijworasin, Wandee. (2012). Song satan… Bab ruean Lao Vieng. (In Thai). [Two Places. Lao Vieng Houses]. Bangkok: Usakane.
- Pitipat, Sumitr and poonsuwan Samerchai. (1997). Lao Song: Pollawat kong rabob wattanatam nai rob song sattawat. (In Thai). [Dynamic of Cultural System in Two Centuries]. Bangkok: Faculty of Sociology and Humanity, Thammasart University.
- Piyapan, Bangon. (1998). Lao nai Krung Rattanakosin. (In Thai). [Lao in Rattanakosin Era]. Bangkok: Thailand Research Fund.
- Pongsapitch, Amara. (2000). Kwam Lark lai tang Wattanatam. (In Thai). [Diversity of Culture]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
- Samantarat, Saran. (2013). Plad tin tee you yang. (In Thai). [Conflict]. Bangkok: Usakane.
- Srisawas, Boonchuey. (2004). Ratch-Anajak lao. (In Thai). [Kingdom of Laos]. Bangkok: Siam Press.
- Teerasassawat, Suwit. (2000). Prawattisart Lao. (In Thai). [ History of Laos]. Bangkok: Sang San Press.
- Veerawong, Sila. (1992). Prawattisart Lao. Premjit, Sommai: Translate ( In Thai ). [Lao History]. Chiangmai: social Research Institute.
- Wongvijit, Phumee. Chanvitan, Pisanu translate in Thai. (1993). Nai Kwam Song Jam Kong Phumee Wongvijit. (In Thai). [In the memory of Kong Phumee Wongvijit]. Bangkok: Machine Multimedia Group Co.Ltd.
- Yimrewat, Pattiya. (2001). Prawattisart Sipsongjutai. (In Thai). [Sipsongjutai History]. Bangkok: Sang San.