ความเป็นไปในรอบเจ็ดศตวรรษของตระกูลชาวไต แห่งแคว้นต้าหลี่ มณฑลยูนนาน: ข้อมูลจากจารึกโบราณและสมุดบันทึกบรรพประวัติวงศ์ตระกูล “อา”

ผู้แต่ง

  • Samerchai Poolsuwan คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ตระกูลอาแห่งแคว้นต้าหลี่, ไตในมณฑลยูนนาน, ประวัติศาสตร์ยูนนาน

บทคัดย่อ

เสมอชัย พูลสุวรรณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

         งานศึกษานำเสนอข้อมูลชั้นต้นและบทวิเคราะห์ ว่าด้วยความเป็นไปแห่งบรรพชนตระกูลอาซึ่งสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองเติ้งชวน แคว้นต้าหลี่ มณฑลยูนนาน เริ่มตั้งแต่ในปฐมรัชกาลแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ. 1382 กระทั่งสิ้นสุดระบบเจ้าเมืองสืบทายาทลงในรัชสมัยพระจักรพรรดิ์หย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง เมื่อปี ค.ศ. 1728 ข้อมูลชั้นต้นประกอบด้วยจารึกขนาดยาวแสดงบรรพประวัติของตระกูลสองหลัก (จารขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1508 และ 1577), จารึกหลุมฝังศพประมุขและบุคคลในตระกูลรุ่นต่าง ๆ จำนวนมาก และสมุดบันทึกแม่พิมพ์ไม้แสดงบรรพประวัติของตระกูล จัดทำขึ้นในรัชศกเต้ากวง ราชวงศ์ชิง เมื่อปี ค.ศ. 1843. บทวิเคราะห์ยืนยันว่าบรรพชนตระกูลอาเป็นชาวเผ่า “ไป่อี๋” (ไต) มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใกล้ชิดกับตระกูลผู้นำชาวไตแห่งลุ่มแม่น้ำสาละวิน บรรพชนตระกูลอาแสดงบทบาทต่อเนื่องกันหลายร้อยปี ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่าง ๆ ในมณฑลยูนนาน เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์หยวนจนถึงในต้นสมัยราชวงศ์ชิง ถึงแม้บรรพชนตระกูลอาจะได้ถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ในกระแสวัฒนธรรมจีนอย่างเข้มข้น หากสำนึกของความเป็น “ไต” ก็ยังคงดำรงอยู่ โดยไม่เป็นอิสระจากบริบททางการเมือง เห็นได้จากการที่ประมุขตระกูลอาในแทบจะทุกรุ่น พยายามรักษาสายสัมพันธ์กับประมุขชาวไตในหลายหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำแดงและลุ่มแม่น้ำโขง ผ่านการสร้างระบบเครือญาติ ด้วยการแต่งงานข้ามระหว่างสายตระกูลผู้นำด้วยกันเอง.

References

- Ah Wei Aai, (2000). Banthưk banpaprawat trakūn ʻā chabap chamra dōi lūk lān run thı̄ yı̄sip. [in Thai] (Ancestral Record of the Ah Family, compiled by members of the 20th generation). Dali, Yunan Province: The Ah Family of Chew-chou. 2000. (Chinese Language).

- Dodd, W. C., (1923). The Tai Race, Elder Brother of the Chinese. Iowa: Torch Press.

- Fan Shua, (1969). Mansu: A Complementary account of the Royal Chinese Chronicle dealing with minorities in the southern part of Imperial China prior to the Sukhothai period. (translated from the royal edition published at the U-Jing-Dian Mansion, Peking) Bangkok: Department of Fine Arts.

- H. R. Davies, (1909). Yun-Nan The Link Between India and the Yangtze. Cambridge: Cambridge University Press.

- Gogoi P. , The Tai and The Tai Kingdom (Calcutta: Sreekana Press, 1999), 58–111.

- Jiang Ing Liang, (1991). Prawat chon chư̄ achāt thai, Ton tee song, (in Thai) [History of Tai ethnic group, Vol. II] Bangkok: Prime Minister’s Office.

- Jiranakorn Y. and Settakul, R., (2001). Prawattisāt sip sō̜ng pan nā (in Thai) [History of Sipsonpanna]. Bangkok: TRF.

- Jiranakorn Y., and Poolsuwan S., (2019). Poē t kru ʻēkkasān Čhı̄n bōrān : tı̄phǣ khō̜mūn kān pokkhrō̜ng chon chāi khō̜p læ čhaothin chāo tai khō̜ng phǣndin Čhı̄n. (in Thai) [Insights into Old Chinese Records: Revealing the Chinese Imperial Administration Imposed on Peripheral Minorities and Tai Rulers]. BKK: the Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

- Kullavanijaya P. (2004).“Khwām samphan thāng chư̄asāi rawāng phāsā thin trakūn thai sākhā tawantok chı̄ang tai: sathāna læ khwāmrū nai patčhuban, (in Thai) [Genetic relationship amongthe Southwestern-Tai dialects: its current status]”. in The International Conference in Honor of HRH Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra titled “Research Progress on the “Tai” Ethnic Peoples of the People’s Republic of China”. November 5-6, 2004. By Thai Kadi Research Institute and the Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. Bangkok.

- Pitipat S. and Poolsuwan S., (2003). Khon tai nai sư̄ mao monthon yūnnān sāthāranarat prachāchončhı̄n : prawattisāt kānmư̄ ang sangkhom læ watthanatham. (in Thai) [The Tai People of Simao, Yunnan Province, The People Republic of China: Historical, Political and Cultural Perspectives]. BKK: Thai Khadi Research Institute.

- Pitipat S. and Poolsuwan S. (2000). “Tai” lae “Zhuang” nai monthon yūnnān sāthāranarat prachāchončhı̄n : bot wikhro̜ čhāk khō̜mūn phāksanām. (In Thai) [Tai and Zhuang in Yunnan Province, The People Republic of China: A Fieldwork Based Analysis]. Bangkok: Thai Khadi Research Institute.

- Poolsuwan S., (2000). “Khon thai nai lum mǣnam yǣng sı̄ kı̄ang tō̜n bon, (in Thai) [The Tai People of the Upper Yangtze Valley]”, in Thamsart Journal, 26 (3) (2000): 8-41.

- Poolsuwan S., (2006). “Sư̄p prawat kān phrǣkračhāi khō̜ng phāsā læ watthanatham tai sū Asia ākhanē”, (in Thai) [tracing the diffusion history of the Tai dialects and culture into Southeast Asia] in Thai Studies Journal, 3(2) (2006): 1-80.

- Poolsuwan S., (2018). Rat chān (mư̄ ang tai): phonlawat chāttiphan nai bō̜ribot prawattisāt læ sangkhom kānmư̄ ang rūamsamai. (in Thai) [Shan State (Muang Tai): Ethnic Dynamism in the Historical and Socio-political Perspectives”] 2nd editions. Bangkok: the Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

- Wittayasakpan S., (2001). Prawattisāt thai yai. (in Thai) [History of Tai Yai]. Bangkok: TRF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-12

ฉบับ

บท

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment