การศึกษาและออกแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่บาทวิถีแบบผสมผสาน: กรณีศึกษาเขตเมืองเก่าเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Chiranthanin Kitika คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พื้นที่สาธารณะ, การออกแบบผสมผสาน, บาทวิถี, การออกแบบชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

จิรันธนิน กิติกา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         การวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่สาธารณะ และบาทวิถี บนถนนพระปกเกล้า และช้างเผือกเมืองซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญที่วางตัวในแนวแกนเหนือ-ใต้ของเมืองเก่าเชียงใหม่ ซึ่งคัดสรรพื้นที่กรณีศึกษาได้ทั้งสิ้น 10 กรณีศึกษา เพื่อนำมาศึกษาโดยใช้กรอบทฤษฎีโครงข่ายความเป็นเพื่อนบ้าน ที่อธิบายพื้นที่ทางสังคมที่เกิดจากการพึ่งพากันระหว่าง 2 ปัจจัย คือ การออกแบบพื้นที่ทางกายภาพ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

         จากการศึกษาพบว่า การจัดการพื้นที่สาธารณะและบาทวิถีตามแนวทางของภาครัฐไม่เอื้ออำนวยต่อลักษณะการใช้สอยของผู้อยู่อาศัยในเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ เมื่อนำแนวคิดเรื่องการออกแบบผสมผสาน เพื่อคำนึงถึงพื้นที่ทางกายภาพร่วมกับประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่แบ่งปันที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ อันจะเป็นฐานของการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองเดินได้ เมืองชีวิตช้า เป็นต้น และนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการพื้นที่สาธารณะประเภทบาทวิถีให้มีแนวทางที่เหมาะสมกับความต้องการการใช้สอยของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

References

- Department of Public Works and Town & Country Planning. (2006). Thailand Urban Planning Criterion & Standards: 2006. Bangkok, Thailand: Department of Public Works and Town & Country Planning.

- Grant, J. (2002). “Mixed Use in Theory and Practice”. in United States: APA Journal 68, no. 1: 71-84.

- Harris, C. W. & Dines N. T. (1998). Time-Saver Standards for Landscape Architecture. New York: McGraw-Hill Education – Europe.

Kitika, C. & Katsuhiko, S. (2016) “Integrated Neighborhood Network on A Case Study of Condominium Community: Nimmanhaemin area, Chiang Mai Thailand” in International Review for Spatial Planning and Sustainable Development Journal (IRSPSD) Vol. 4 (2016) No.1. J-STAGE & Press (SPSD). pp. 106-122.

- Lefebvre, Henri., D. Nicholson-Smitch, Trans. (1991). The production of space. MA: Blackwell.

- Lieorungruang, V. (2008). Lanna Architectural Conservation: Guidelines for Historic Buildings in Northern Thailand. Bangkok: Graduate School, Silpakorn University.

- Oranratmanee, R. (2012). The use of public space for walking street in a form of flea market in Thai urban cities. BKK: TRF.

- National Statistical Office. (2016). Provincial Statistic Report 2016. Retrieved July 31, 2018, from http://chiangmai.old.nso.go.th.

- Sookprecha, T. (2018). Urban Design - What is Elements for Good City. Retrieved July 31, 2018, from www.the101.world/urban-design.

- Suwatcharapinun, S. (2016). Chiang mai-mai: Modern architecture of Chiang Mai between 1884-1975. Chiang Mai: Chiang Mai University Publishing.

- Suwankantha, A. (2013). Northern Border Economic Zone. Retrieved 6 August 2016.

- Tansuklanun, P. & Phetcharanond, M. (2007). A search for vital public space: the Urban life of Khon Kaen. Khon Kaen: Faculty of Architecture, Khon Kaen University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

How to Cite

Kitika, C. (2019). การศึกษาและออกแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่บาทวิถีแบบผสมผสาน: กรณีศึกษาเขตเมืองเก่าเชียงใหม่. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 34(2), D1-D18. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/230209

ฉบับ

บท

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning