การประเมินคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่เมืองเก่า

ผู้แต่ง

  • วิรุจ ถิ่นนคร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชินศักดิ์ ตัณฑิกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วีระ อินพันทัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

มรดกวัฒนธรรม, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, การประเมินคุณค่า, เมืองเก่า, พื้นที่ประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

         พื้นที่เมืองเก่า หรือพื้นที่ประวัติศาสตร์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งมีอาคารสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีความสำคัญในฐานะเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อสร้างเกณฑ์วัดคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทย โดยมีขอบเขตเน้นพื้นที่ศึกษาในบริบทเมืองเก่า และเพื่อทราบถึงคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่เมืองเก่า วิธีการศึกษาจากทฤษฎีและแนวคิดของมรดกทางวัฒนธรรม เมืองเก่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและเกณฑ์การประเมินคุณค่าของหน่วยงานในระดับสากล คือ องค์กรยูเนสโก และหน่วยงานภายในประเทศไทยคือ กรมศิลปากรและสมาคมสถาปนิกสยาม เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างเครื่องมือวัดเกณฑ์เฉพาะการประเมินคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่เมืองเก่าที่มีความสอดคล้องกับแนวคิดของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และมรดกทางวัฒนธรรม

         ผลการศึกษาพบว่า แม้ยูเนสโกได้ขยายขอบเขตพื้นที่อนุรักษ์กว้างขึ้นให้ครอบคลุมถึงมรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแล้ว แต่สาเหตุที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไม่ได้รับการให้คุณค่าเพราะ กรมศิลปากรยังคงใช้เกณฑ์ประเมินสำหรับอาคารที่มีคุณค่าสูงและดำเนินการอนุรักษ์โดยเน้นที่การซ่อมแซมหรือบูรณะอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีสูง ศาสนสถานสำคัญหรืออาคารที่มีฐานานุศักดิ์ โดยเน้นการรักษาคุณค่าด้านรูปแบบความเป็นของแท้ดั้งเดิมเป็นหลัก และกลไกทางกฎหมายในการอนุรักษ์ที่มีความซับซ้อนในการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ซึ่งขัดกับแนวคิดการอนุรักษ์ในปัจจุบันที่ไม่จำกัดการให้คุณค่าเฉพาะโบราณสถานหรือลักษณะทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ด้วย และจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมกับเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การสร้างเกณฑ์การประเมินคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่เมืองเก่าสามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสุนทรียภาพ ประวัติศาสตร์ วิทยาการและการศึกษา และสังคม ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางการอนุรักษ์ในปัจจุบัน

References

- Fine Arts Department. (2005). Naewtang Patibud Nai Kan Sanguan Raksa Boransatan. (In Thai) [Regulations on Historic Site Preservation]. 2nd edition. Bangkok: Ruengsilkanpim Company.
- ICOMOS Thailand. Kodbud Rawang Prathet (In Thai) [International Charters] [Online]. Accessed 10 December 2017. Available from https://www.icomosthai.org/charter.htm#h0
- ICOMOS Thailand. Thai Charter on Cultural Heritage Site Management (In Thai) [International Charters] [Online]. Accessed 10 December 2017. Available from https://www.icomosthai.org/THcharter/63546_Charter_updated.pdf
- Khanjanusathiti, P.(2009). Kan Anurak Morradok Sathapadtayakam Lae Chumchon. (In Thai) [Architectural and Local Heritage Conservaiton]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
- Kirdsiri, K. and Buranaut, I. (2018). “The Charter on the Built Vernacular Heritage”. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 33, C17-C20. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/130630
- Office of the Permanent Secretary, Ministry of Culture. Kantrimkan Namsanoe Lang Morradok Pheua Kheun Banchee Morradok Lok. (In Thai) [The Preparation for Heritage Site Nomination for the World Heritage]. Bangkok: Sahamit Printing & Publishing Co. Ltd., 2012.
- Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Chut Khwamru Dan Kananurak Pattana Lae Borrihanjadkan Muang Kao Lamtee Nueng (In Thai) [The Knowledge Series on Old Town Conservation, Development and Management Book 1] [Online]. Accessed 10 December 2017. Available from http://lib.mnre.go.th/index.php/2012-04-30-03-57-01/2012-10-12-09-13-14/234-2012-10-29-07-15-05.
- Oliver, P. Encyclopedia of Vernacular Architecture of the World: Volume 1: Theories and Principles. Cambridge: Cambridge University Press, 1997.
- Pitiyanuwat, S. (2016). Withiwittaya Kanpramoen: Sart Haeng Khunkha. (In Thai) [Evaluation Methodology: Science of Quality Evaluation]. 6th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
- Sudchaya, C. (2009). Kan Anurak Muang. (In Thai) [Urban Conservation]. Bangkok: Amarin Printing & Publishing.
- Temiyaphan, W. (2016). Sathapadtayakam Pheunthin. (In Thai) [Vernacular Architecture; A Collectionof Academic Articles on Vernacular Architecture]. 2nd edition. Bangkok: Triple Group.
- The Association of Siamese Architects. (2010). Phumpunya Chaowbaan Su Sathapadtayakam Pheunthin. (In Thai) [Folk Wisdom to Vernacular Architecture]. Bangkok: Plus Press.
- The Association of Siamese Architects. (2017). Rangwan Anurak Sillapa Sathapadtayakam Deeden Prajampee 2560 (In Thai) [ASA Conservation Award 2017] [Online]. Accessed 10 December 2017. Available from http://asa.or.th/asaconservation\award2017/
- The Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance. (2013). The Burra Charter.
- UNESCO. Operational Guidance for the Implementation of the World Heritage Convention [Online]. Accessed 13 August 2017. Available from http://whc.unsco.org/en/guidelines

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-11

How to Cite

ถิ่นนคร ว., ตัณฑิกุล ช., & อินพันทัง ว. (2020). การประเมินคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่เมืองเก่า. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 35(1), B19-B34. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/243003

ฉบับ

บท

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment