“ทางเข้า” ความหมายของลำดับการเปลี่ยนผ่าน

ผู้แต่ง

  • บรรจงลักษณ์ กัณหาชาลี หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาแนวความคิดในการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อดิศร ศรีเสาวนันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ทางเข้า, ความหมายและการรับรู้, พื้นที่แบ่งเขต, ลำดับการเปลี่ยนผ่าน

บทคัดย่อ

         “ทางเข้า” จุดเริ่มต้นของการรับรู้และองค์ประกอบสำคัญของงานสถาปัตยกรรมที่มีการร้อยเรียงลำดับห้วงเวลาระหว่างมนุษย์เคลื่อนที่ไปพร้อมกับการรับรู้ทางประสาทสัมผัส จากพื้นที่ภายนอกเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร เป็นการสร้างนัยยะ สร้างสถานการณ์ การจัดระเบียบของพื้นที่ที่มีการควบคุม, การมอบอิสระของการเข้าถึง เพื่อสร้างบรรยากาศของการรับรู้ประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากการอยู่อาศัยเดิมของมนุษย์

         บทความปริทัศน์นี้มุ่งค้นหา ความหมาย หน้าที่ วิธีการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อรูปพื้นที่ทางเข้าในงานสถาปัตยกรรม เพื่อนำไปสู่การต่อยอดของการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ในหัวข้อ “ลำดับการรับรู้ทางเข้าหลัก ความสัมพันธ์ของมุมมอง การเคลื่อนที่ และสัดส่วนในงานสถาปัตยกรรม”  โดยใช้วิธีการวิเคราะห์จากวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาเป็น 4 ส่วนคือ 1) ความหมายของทางเข้า 2) ทางเข้ากับพื้นที่แบ่งเขต 3) พื้นที่แบ่งเขตกับลำดับการเปลี่ยนผ่าน 4) ประสบการณ์การรับรู้พื้นที่ทางเข้า

         ข้อสรุปส่วนท้ายของบทความแสดงให้เห็นว่า การสร้างความหมายของพื้นที่ทางเข้าในปัจจุบันมักใช้วิธีการ “สกัดกั้น ชะลอช้าลง” ด้วยจำนวนเส้นแบ่งเขตอย่างมีลำดับก่อน-หลัง และแยกพื้นที่ทางเข้าได้ 5 ส่วนคือ พื้นที่ทางเข้าโครงการ พื้นที่อาณาบริเวณ พื้นที่ก่อนทางเข้า ทางเข้าอาคาร และพื้นที่หลังทางเข้าอาคาร เพื่อนำผลสรุปมาประกอบการวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ต่อไป

References

Ando, T. (2017). Tadao Ando: Endeavors, 安藤忠雄展:挑戦 , Tadao Ando Exhibition Committee, and The National Art Center, Tokyo, eds. Tadao Ando: Endeavors. Tadao Ando Exhibition Committee, 2017. International Printing Publishing Laboratory Co.,Ltd: Tadao Ando Exhibition Committee (Japan).

Boettger, T. (2014). Threshold Spaces. Boston: Birkhäuser.

Carol Davidson Cragoe , H. P. (2008). How to read buildings a crash course in architecture. Great Britain

Christopher, D. (2020). Places of the Soul: Architecture and Environmental Design as a Healing Art. (S. Kunthiworapong, Trans. Vol. 1). BKK: PabPim Company.

Fujimoto, S. (2008). The Impact of Threshold in Phenomenological Architecture The Impact of Threshold in Phenomenological Architecture :House. N. (2008), Oita: Sou Fujimoto Architects.

Jirathatsanakul, S. (2003). Kati Sanyaluck Lae Kwammaikhong "Shumphatoo-Natang" Thai (In Thai). BKK: Amarin printting and publishing.

Panin, T. (2020). ART-I-FACT. BKK: Li-zen.

Psarra, S. (2009). Architecture and narrative the formation of space and culture meaning. Abingdon: Routledge Taylor & Francis Group.

Slessor, C. (2002). Contemporary Doorways Architectural entrances, Transitions and Thresholds. London: Octopus Publishing Group.

Srisaowanunt, A., & Inpuntung, V. (2016). “Concept of Place and Phenomenology in the study of Vernacular Architecture”. Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University, 15(1), 20.

Studio, S. C. (2018). A History of Thresholds life, death & rebirth. Berlin: Jovis Verlag GmbH.

Tawayuttawong, C. 2018). 9 Things You Must Know: The Pantheon. Gypzy world Civilization. Retrieved from https://bit.ly/3KrEzT0

Unwin, S. (2007). Doorway. Abingdon: Routledge Taylor & Francis Group.

Zumthor, P. (2018). PETER ZUMTHOR ATMOSPHERES Architectural Environments, Surrounding Objects. A lecture. delivered on 1 June 2003 at the (Kunstscheune), Wendinghausen Castle, (Wege durch das land) Festival of Literature and Music in East-Westphalia-Lippe (W. Lain Galbraith, Trans.). Berlin: Birkhäuser.

武,中., & Nakagawa, T. (2019). The Japanese House: In Space, Memory and Language. (Thai Version) (C. Isavorapant, Trans.). BKK: Taweewat publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24

How to Cite

กัณหาชาลี บ., & ศรีเสาวนันท์ อ. (2022). “ทางเข้า” ความหมายของลำดับการเปลี่ยนผ่าน. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 36(1), A1-A23. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/259491

ฉบับ

บท

ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรม | Architectural Theory and Design