พัฒนาการของบ้านร้านค้าของเมืองเหมืองดีบุกห้วยยอด

ผู้แต่ง

  • ปภาวดี สะนัย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

บ้านร้านค้า, ห้องแถว, เมืองเหมืองดีบุก, ภาคใต้

บทคัดย่อ

         เมืองห้วยยอดเป็นเมืองที่อยู่ตอนในแผ่นดินคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตกถัดมาจากแนวเทือกเขาบรรทัดที่ทอดตัวลงในแนวเหนือ-ใต้ โดยมีสินแร่สำคัญ คือ ดีบุก ทำให้เมืองห้วยยอดเป็นเมืองแห่งโอกาส ทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองห้วยยอด และเริ่มวางผังเมือง และก่อสร้างสถาปัตยกรรมสำหรับการอยู่อาศัย การค้า และประกอบธุรกิจเรียกว่า “บ้านร้านค้า” ซึ่งการพัฒนาเมืองในคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะเมืองจอร์จทาวน์ที่เกาะปีนังนั้น ได้ส่งผลมายังคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน และผู้คนต่างมีสายสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และธุรกิจมาอย่างยาวนาน ดังจะเห็นได้ว่าวิธีคิดในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่ฉายผ่านบ้านร้านค้าที่ก่อสร้างกันอย่างแพร่หลายในเมืองจอร์จทาวน์เกาะปีนังได้ถ่ายทอดมายังเมืองอื่นๆ อาทิ ภูเก็ต ตะกั่วป่า กันตัง รวมทั้งห้วยยอดด้วย

         จากการศึกษาพบว่า รูปแบบของบ้านร้านค้าในเมืองห้วยยอด และมีข้อค้นพบโดยจำแนกรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของบ้านร้านค้าที่พบในเมืองห้วยยอด คือ 1) เรือนแถวแบบท้องถิ่น 2) ตึกแถวแบบสรรค์ผสานนิยมจีนตอนใต้ 3) ตึกแถวแบบสรรค์ผสานนิยมในคาบสมุทรมาเลย์และคาบสมุทรภาคใต้ของไทย 4) ตึกแถวแบบก่อนสมัยใหม่ (Pre-Modern Style) 5) ตึกแถวแบบสมัยใหม่ระยะต้น ซึ่งมีพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับรูปแบบบ้านร้านค้าที่พบในเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง เมืองภูเก็ต และเมืองกันตัง

         ทั้งนี้ การวิจัยนี้มีข้อค้นพบว่า ในช่วงต้นของการตั้งถิ่นฐานและสร้างเมืองห้วยยอดนั้น พัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของบ้านร้านค้ามีความสัมพันธ์กับรูปแบบอันเป็นที่นิยมในเมืองจอร์จทาวน์ เกาะปีนัง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ทว่าในราวต้นคริสศตวรรษที่ 20 ที่รัฐบาลส่วนกลางที่กรุงเทพมหานครได้สร้างเส้นทางรถไฟ และถนนเพชรเกษมลงไปยังภาคใต้ฝั่งตะวันตกเพื่อการพัฒนาให้เมืองกันตังทำหน้าที่เป็นเมืองท่าการค้า ก็ได้ทำให้ความใกล้ชิดของเมืองห้วยยอดกับส่วนกลางที่กรุงเทพมหานครมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ดังแสดงออกให้เห็นผ่านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของบ้านร้านค้าที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ต้นคริสศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา

References

Akram Zwain, Azizi Bahauddin. (2017). “The Traditional Courtyard Architectural Components of Eclectic Style Shophouses, George Town, Penang” in 7th International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies.

Document Processing and Archives Committee. (1999). watthanatham phatthana kan thang prawattisat ekkalak læ phumpanya čhangwat Trang. (in Thai) [Culture, Historical Development, Identities and Local Wisdom in Trang Province]. BKK: Document Processing and Archives Committee.

Francis Loj Kok Wah. (1988). Beyond the Tin Mines: Coolies, Squatters and New Villagers in the Kinta Valley, Malaysia, c.1880-1980. Singapore: Oxford University Press. p.9.

kantham mưang dibuk nai prathet Thai. (in Thai) [Tin mining in Thailand]. Retrieved from http: http://library.dmr.go.th/elib/cgi-in/opacexe.exe?op=mmvw&db=Main&sid=&skin=u&usid=&mmid=2048&bid=32800

Kirdsiri K., Wongpradit P., Buranaut I., and Janyam K., (2021). čhot tha ko pinang čhak mưangtha prawattisat su mưang moradok lok. (in Thai) [George Town, Penang Island: from historic port town to world heritage town]. BKK: Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Laokaewnu T. (2007). næothang kananurak læ fưnfu mưang huai yot čhangwat Trang. (in Thai). [Guideline for conservation and rehabitation of Huay Yod Town, Trang]. BKK: Chulalongkorn University.

Lim Chong Yah, (1968). Economic Development of Modern Malaya. Kuala Lumpur: Oxford University Press: International Tin Council. 1968.

Loh, Francis Kok-Wah. Beyond the Tin Mines: Coolies, Squatters and New Villagers in the Kinta Valley, Malaysia, c.1880-1980. Melbourne: Oxford University Press Australia, 1989

N.A.M. Omar, S.F.Syed-Fadzil. (2011). “Assessment of Passive Thermal Performance for a Penang Heritage Shop house” in The 2nd International Building Control Conference 2011.

Oliver, P. (1998). Encyclopedia of Vernacular Architecture Volume 1. Cambridge: Cambridge University.

Pinang Gazette and Straits Chronicle. Refer in Wong Yee Tuan. (2015). Penang Chinese Commerce in the 19th Century: The Rise and fall of the Big Five. Singapore: ISEAS National University of Singapore. p.4.

Praya Trang Ka Bhumi Pala. “phlengyao saka rop ra borommathat nirat pai Trang”. (in Thai) in Wannakam phraya Trang. (In Thai) Retrieved from http: https://vajirayana.org

Promket T. (2017). “Penang-Phuket-Trang Trading Network, Mining and Overseas Chinese (1910s to 1980s)”. in History Journal – SWU. 2560 (August 2017-July 2018), pp. 67-87.

Steve Blunden, Tony Wallace. “Tin in canned food: a review and understanding of occurrence and effect” in Food and Chemical Toxicology. Volume 41, Issue 12, December 2003, Pages 1651-1662.

Swettenham, F. A. 1893. “VI Mining”. About Perak. Singapore: Straits Times Press. p.31-36.

Tan Yeow Wooi. (2015). Penang Shophouses: A handbook of Features and Materials. Penang: Tan Yeow Culture and Heritage Research Studio.

Wong Yee Tuan. (2015). Penang Chinese Commerce in the 19th Century: The Rise and Fall of the Big Five. Singapore: ISEAS National University of Singapore. p.4.

Wongpradit P. (2014). kansưksa phatthanakan rupbæp khong tưkthæo čhangwat Trang. (in Thai) [The study of shophouse development in Trang Province]. (Master Degree Thesis), BKK: Silpakorn Univerasity.

Wongpradit P., Kirdsiri K. and Chapman W., (2022). “Shophouse façade designs in the port towns of the Andaman Sea and Malay Peninsula” in HASSS. Volume 22, Number 2 (May-August), 2022. p. 452-465.

Wongpradit P., Kirdsiri K., Panin O., (2015). “boribot wætlom thi song phon toaka roko tua læ kanphatthana khong tưkthæo nai phum that yan prawat tisat thap yong čhangwat Trang”. (in Thai) [Contexts Affecting Architectural Form of Shophouse and Its Development, Historic Urban Landscapes of Tub Tiang, Trang Province] in Najua: Architecture, Design and Built Environment. vol. 29 (2015): January - December 2015. p. 205-222.

Wongpradit P., Kirdsiri K., Panin O., (2021) “bot sang khro waduai phatthanakan rup bæp so tha pot yok ra rom hongthæo mưangtha chaifang thale an da man læ khapsamut malayu fak tawantok” (in Thai). [The Synthesis of Row house’s Development in the Port Towns on the Andaman Sea Coast and the Western Part of Malay Peninsula] in Najua: History of Architecture and Thai Architecture. Vol. 18 No. 2 (2021): July - December 2021. p. 75-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09

How to Cite

สะนัย ป. (2023). พัฒนาการของบ้านร้านค้าของเมืองเหมืองดีบุกห้วยยอด. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 37(2), C1-C23. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/267292

ฉบับ

บท

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment