การขยายตัวของเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาป่าเฮี่ยวสู่พื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กณิษา อำพนพรรณ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วันดี พินิจวรสิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การขยายตัวของเมือง, การแปรเปลี่ยนของพื้นที่, ป่าเฮี่ยว

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายตัวของเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาป่าเฮี่ยวสู่พื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสำรวจการใช้พื้นที่ป่าเฮี่ยวทั้ง 10 แห่ง ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสียในการใช้พื้นที่ เช่น ผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้นำหมู่บ้าน และตัวแทนจากเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์การขยายตัวของเมืองที่ส่งผลต่อการการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ป่าเฮี่ยว และสังเคราะห์การพัฒนาป่าเฮี่ยวให้เป็นพื้นที่อรรถประโยชน์สู่พื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม

         ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ป่าเฮี่ยวทั้ง 10 แห่งยังคงการใช้พื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรมเผาศพตามจารีตประเพณี แต่มีพื้นที่ป่าเฮี่ยวถึง 5 แห่ง ที่คงเหลือพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมนี้น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ป่าเฮี่ยวทั้งหมด เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานของพื้นที่ตามทิศทางการเติบโตของเมืองตามแผนพัฒนาและผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ โดยป่าเฮี่ยวทั้ง 10 แห่ง ปรับเปลี่ยนการใช้งานออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ 1) พื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม 2) พื้นที่สำหรับใช้สอยของส่วนราชการ 3) พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมชุมชน 4) พื้นที่สำหรับจัดกีฬาและนันทนาการ 5) พื้นที่สีเขียว 6) พื้นที่สำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาป่าเฮี่ยวให้เป็นพื้นที่อรรถประโยชน์ ที่นำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างคุณภาพชีวิต และก่อให้เกิดพื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

References

Ministry of interior. (2021). Kan Hai Chai Bangkhop Phanrmueang Ruam Mueang Chiang Mai 2021. Royal Gazette, 138 (191), 9-16.

Sunanta,C., Laksana,S. (2021). “Kan Phoem Phuenthi SiKhiao Khong Mueang Nai Satsanasathan Praphet Wat Korani Sueksa Thetsaban Nakhon Chiang Mai”. Sarasatr academic journal, 4(1), 236-249.

Wattanachot P., and Nakfon P., (2023). “Kan Wikhro Khrueakhai Nayobai Nai Kan Phat thana Phuen Thi Satharana SiKhiao Nai Khet Krungthepmahanakhon”. Social science journal Chulalongkorn University, 53(1), 161-183.

Khamprasert I., (2023). “Kan Wikhro Prakotkan Kan Khlueanwai Khong Khabuankan Thang Sangkhom Phuea Kan Anurak Chumchon Mueang”. Khuang Phaya Journal, 17(1), 66-88.

Tiensap A., (2023). “Naeothang Kan Anurak Lae Phatthana Phum That Mueang Boran Chiang Saen Chiang Rai Province”. Sarasatr academic journal, 6(1), 166-179.

Arunrat, W., Chonthira,S., Sombat,B., Lamoon,C. (2003). Sitthi Chumchon Thongthin Phuenmueang Dangdoem Lan Na Korani Sueksa Chumchon Lua Yuan Lue Paka Ke a Yo Krariang Nai Changwat Nan Chiang Rai Lae Chiang Mai. BKK: Nititham Publishing.

Rojanasa-nga A. (2020). “Phuenthi Thang Watthanatham Nai Huean Thai Yai Ban Khlong Nam Sai Changwat SaKaeo”. Institute of Culture and Arts Journal, 21(2), 177-189.

Denzin, N. K. (1989). The research act (3rd ed.). McGraw-Hill.

Krejcie, R., & Morgan, E. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28

How to Cite

อำพนพรรณ ก., ปาณินท์ อ., & พินิจวรสิน ว. (2023). การขยายตัวของเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาป่าเฮี่ยวสู่พื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. หน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 37(2), D1-D43. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/269169

ฉบับ

บท

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning